top of page
48412713_931683453694197_480701635075086
ค้นหา

บทที่ 13 แบบจำลองของฐานข้อมูล (Database Modeling)

  • รูปภาพนักเขียน: เรียกสิ'เบญจี้ เบญจี้
    เรียกสิ'เบญจี้ เบญจี้
  • 15 เม.ย. 2562
  • ยาว 2 นาที


การสร้างแบบจำลองข้อมูลเป็นกระบวนการที่ ใช้ในการกำหนดและวิเคราะห์ความต้องการข้อมูลที่จำเป็นในการสนับสนุนกระบวนการทางธุรกิจภายในขอบเขตของระบบข้อมูลที่เกี่ยวข้องในองค์กร ดังนั้นกระบวนการของการสร้างแบบจำลองข้อมูลเกี่ยวข้องกับตัวสร้างข้อมูลมืออาชีพทำงานอย่างใกล้ชิดกับผู้มีส่วนได้เสียทางธุรกิจเช่นเดียวกับผู้ใช้ที่มีศักยภาพของระบบข้อมูล

มีโมเดลข้อมูลสามแบบที่สร้างขึ้นขณะที่ดำเนินการจากข้อกำหนดไปยังฐานข้อมูลจริงเพื่อใช้สำหรับระบบข้อมูล ความต้องการข้อมูลจะถูกบันทึกไว้ในขั้นต้นเป็นแบบจำลองข้อมูลแนวคิดซึ่งเป็นชุดของข้อมูลจำเพาะด้านเทคโนโลยีที่เป็นอิสระเกี่ยวกับข้อมูลและใช้เพื่อหารือเกี่ยวกับความต้องการเบื้องต้นกับผู้มีส่วนได้เสียทางธุรกิจ รูปแบบความคิดได้รับการแปลแล้วเป็นรูปแบบของข้อมูลเชิงตรรกะซึ่งเอกสารโครงสร้างของข้อมูลที่สามารถดำเนินการในฐานข้อมูล การใช้แบบจำลองแนวคิดข้อมูลหนึ่งอาจต้องใช้แบบจำลองข้อมูลเชิงตรรกะหลายแบบ ขั้นตอนสุดท้ายในการสร้างแบบจำลองข้อมูลคือการแปลงตัวแบบข้อมูลตรรกะเป็นรูปแบบข้อมูลทางกายภาพที่จัดระเบียบข้อมูลลงในตารางและบัญชีสำหรับการเข้าถึงประสิทธิภาพและรายละเอียดการจัดเก็บ การสร้างแบบจำลองข้อมูลไม่เพียง แต่กำหนดองค์ประกอบของข้อมูล แต่ยังรวมถึงโครงสร้างและความสัมพันธ์ระหว่างพวกเขาด้วย

เทคนิคและวิธีการสร้างแบบจำลองข้อมูลใช้ในการสร้างแบบจำลองข้อมูลในลักษณะมาตรฐานที่สอดคล้องและคาดการณ์ได้เพื่อจัดการเป็นทรัพยากร ขอแนะนำให้ใช้มาตรฐานการสร้างแบบจำลองข้อมูลสำหรับทุกโครงการที่ต้องใช้วิธีมาตรฐานในการกำหนดและวิเคราะห์ข้อมูลภายในองค์กรเช่นการใช้การสร้างแบบจำลองข้อมูล:

· เพื่อช่วยนักวิเคราะห์ธุรกิจโปรแกรมเมอร์ผู้ทดสอบด้วยตนเองนักเลือกแพ็คเกจไอทีวิศวกรผู้จัดการองค์กรที่เกี่ยวข้องและลูกค้าให้เข้าใจและใช้แนวคิดแบบกึ่งทางการที่ตกลงกันไว้ในแนวคิดขององค์กรและวิธีที่พวกเขาเกี่ยวข้องกัน

· เพื่อจัดการข้อมูลเป็นทรัพยากร

· สำหรับการรวมระบบข้อมูล

· สำหรับการออกแบบฐานข้อมูล / คลังข้อมูล (aka ที่เก็บข้อมูล)

· การสร้างแบบจำลองข้อมูลเชิงกลยุทธ์: นี่เป็นส่วนหนึ่งของการสร้างกลยุทธ์ระบบสารสนเทศซึ่งกำหนดวิสัยทัศน์และสถาปัตยกรรมโดยรวมสำหรับระบบสารสนเทศ วิศวกรรมเทคโนโลยีสารสนเทศเป็นวิธีการที่รวบรวมแนวทางนี้

· การสร้างแบบจำลองข้อมูลระหว่างการวิเคราะห์ระบบ: ในการวิเคราะห์ระบบแบบจำลองข้อมูลเชิงตรรกะถูกสร้างขึ้นเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาฐานข้อมูลใหม่

การสร้างแบบจำลองข้อมูลยังถูกนำมาใช้เป็นเทคนิคสำหรับรายละเอียดธุรกิจความต้องการที่เฉพาะเจาะจงฐานข้อมูล บางครั้งเรียกว่าการสร้างแบบจำลองฐานข้อมูลเนื่องจากรูปแบบข้อมูลจะถูกนำไปใช้ในที่สุดในฐานข้อมูล

เอนทิตี (entity) หมายถึง วัตถุ (object) หรือแนวคิดที่สามารถบอกความแตกต่างของแต่ละเอนทิตีได้ กลุ่มของเอนทิตีที่มีคุณสมบัติเหมือนกันจะเรียกว่า เอนทิตีเซต (entity set)

รีเลซันชิพเซต (relationship set) คือ ความสัมพันธ์ระหว่างเอนทิตี นอกจากเอนทิตี และรีเลชันชิพแล้ว แบบจำลองอี-อาร์ยังนำเสนอกฎข้อบังคับที่จำเป็นในการสร้างฐานข้อมูล ซึ่งในการนำเสนอนั้น โครงสร้างของฐานข้อมูลทั้งหมดจะถูกแทนด้วยแผนผังอี-อาร์ (E-R diagram) โดยมีสัญลักษณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ดังต่อไปนี้

•รูปสี่เหลี่ยม (rectangles) ใช้แทนเอนทิตีเซต (entity set)

•วงรี (elhpses) ใช้แทนแอตทริบิวต์ (attributes)

•รูปสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน (diamonds) ใช้แทนรีเลชันชิพ

•เส้นตรง (line) ใช้แทนการเชื่อมต่อของแอตทริบิวต์กับเอนทิตีเซต และการเชื่อมต่อของเอนทิตีเซต กับรีเลชันชิพ



2 ส่วนประกอบของแบบจำลองข้อมูล ส่วนประกอบของแบบจำลองข้อมูลสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ

1. ส่วนโครงสร้าง (structural) เป็นส่วนที่ประกอบด้วยกลุ่มสัญลักษณ์รวมทั้งกฎระเบียบที่เห็นพ้องต้องกันเพื่อใช้ในการสร้างฐานข้อมูล

2. ส่วนปรับปรุง (manipulative) เป็นส่วนที่กำหนดชนิดของการปฏิบัติการต่าง ๆ กับข้อมูล ซึ่งประกอบด้วย การอัปเดต หรือการเรียกดูข้อมูลจากฐานข้อมูล รวมทั้งการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างฐานข้อมูล ซึ่งนิยมใช้ชุดคำสั่ง SQL ในการจัดการกับข้อมูล

3. ส่วนกฎความคงสภาพ (a set of integrity rules) เป็นกฎเกณฑ์ที่ใช้ในการควบคุมความถูกต้องของข้อมูล เพื่อให้เกิดความมั่นใจในความถูกต้อง และความแน่นอนของข้อมูลที่บันทึกลงในฐานข้อมูล

วัตถุประสงค์ของแบบจำลองข้อมูล คือการนำเสนอข้อมูลเพื่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกัน โดยสามารถกำหนดความสัมพันธ์ของแบบจำลองข้อมูล ได้ดังนี้

· แบบจำลองข้อมูลภายนอก (External Data Model) จะนำเสนอการวิวข้อมูลของผู้ใช้งานต่าง ๆ

· แบบจำลองข้อมูลแนวคิด (Conceptual Data Model) จะนำเสนอข้อมูลทางลอจิคัล ที่แสดงถึงความเป็นอิสระกับ DBMS

· แบบจำลองข้อมูลภายใน (Internal Data Model) จะนำโครงร่างแนวคิดที่ได้พรรณนาไว้เพื่อให้ DBMS สามารถจัดเก็บ และการเข้าถึงข้อมูลที่แท้จริงได้

3. คุณสมบัติของแบบจำลองข้อมูลที่ดี

1. แบบจำลองข้อมูลที่ดีต้องง่ายต่อความเข้าใจ กล่าวคือ แบบจำลองข้อมูลควรใช้กฎเกณฑ์ทั่ว ๆ ไป โดยมีข้อมูลแอตตริบิวต์ที่อธิบายในรายละเอียดของแต่ละเอนทิตี

2. แบบจำลองข้อมูลที่ดีต้องมีสาระสำคัญ และไม่ซ้ำซ้อน หมายถึงแอตตริบิวต์ในแต่ละเอนทิตี ไม่ควรมีข้อมูลซ้ำซ้อน โดยบางแอตตริบิวต์อาจเป็นคีย์นอก (foreign key) เพื่อใช้ในการอ้างอิงข้อมูลในอีกเอนทิตีหนึ่ง

3.แบบจำลองข้อมูลที่ดีต้องมีความยืดหยุ่น และง่ายต่อการปรับปรุงในอนาคต กล่าวคือ แบบจำลองข้อมูลที่ดีไม่ควรขึ้นกับตัวแอปพลิเคชันโปรแกรม และสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างซึ่งจะไม่ส่งผลกระทบต่อโปรแกรมที่ใช้งานอยู่ นั่นหมายถึงความเป็นอิสระในข้อมูล

4.แบบจำลองฐานข้อมูล (Database Model)

การตัดสินใจเลือกใช้แบบจำลองฐานข้อมูลชนิดใดเป็นสิ่งสำคัญต่อการออกแบบฐานข้อมูล โดยรายละเอียดการจัดการฐานข้อมูล หรือการจัดการคลังข้อมูล และต้องสนับสนุน หรือตั้งอยู่บนพื้นฐานของแบบจำลองฐานข้อมูล ซึ่งมีรายละเอียดต่อไปนี้

4.1 แบบจำลองฐานข้อมูลลำดับชั้น (Hierarchical database model)เป็นแบบจำลองของฐานข้อมูลที่ใช้อธิบายถึงบานข้อมูล ที่มีโครงสร้างของข้อมูลในแบบลำดับชั้น (Hierarchy) โดยมีจุดประสงค์เริ่มต้นเพื่อต้องการให้เป็นฐานข้อมูลที่สามารถขจัดการซ้ำซ้อนของข้อมูล (Data Redundancy) โครงสร้างของฐานข้อมูลแบบ Hierarchy เป็นรูปแบบที่พัฒนามาจากแนวความคิดในการจัดเก็บข้อมูลของโปรแกรมที่มีชื่อว่า Generalized Update Access Method (GUAM) ที่นำเอาข้อมูลในแต่ละส่วนที่เรียกว่า Part มาจัดเก็บเป็นกลุ่มที่เรียกว่า Component แล้วจึงรวมแต่ละกลุ่มเป็นกลุ่มใหญ่ทั้งหมดที่เรียกว่า Final Component โดยมีโครงสร้างอยู่ในรูปแบบของ Tree ที่เรียกว่า Upside-down Tree ซึ่งต่อมาโครงสร้างในลักษณะนี้ได้ถูกเรียกว่า โครงสร้างแบบ Hierarchy

4.2 แบบจำลองฐานข้อมูลเครือข่าย (Network database model)เป็นแบบจำลองของฐานข้อมูลที่ใช้อธิบายถึงฐานข้อมูลที่มีโครงสร้างของข้อมูลที่จำแนกตามความสัมพันธ์ของข้อมูล ที่ได้รับการพัฒนามาจากฐานข้อมูลที่มีโครงสร้างแบบ Hierarchy โดยมีจุดมุ่งหมายเพื่อกำหนดให้เป็นรูปแบบของโครงสร้างข้อมูลที่เป็นมาตรฐาน รวมทั้งมุ่งหวังให้เป็นฐานข้อมูลที่สามารถรองรับข้อมูลที่มีความสัมพันธ์ในแบบ Many – to – Many

4.3 แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational database model)เป็นฐานข้อมูลที่ก่อให้เกิดการปฏิวัติระบบฐานข้อมูลขึ้น เนื่องจากเป็นโครงสร้างของฐานข้อมูลที่มีการนำไปใช้กันอย่างแพร่หลายในผลิตภัณฑ์ทางด้านฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาด ตั้งแต่ที่ทำงานอยู่บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล ตลอดจนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่อย่างเช่น Mainframe

4.4 แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงวัตถุ (Object-Oriented database model)เทคโนโลยีฐานข้อมูลแบบออบเจกต์ ได้ถูกนำเสนอเข้ามาเพื่อแก้ปัญหาที่กล่าวมาข้างต้น สกีมาของฐานข้อมูลแบบออบเจกต์จะประกอบไปด้วยชุดของคลาส (class) โดยที่แต่ละคลาส คือ ชุดของออบเจกต์ที่มีโครงสร้าง และพฤติกรรมอย่างเดียวกัน โครงสร้างของออบเจกต์ถูกกำหนดโดยใช้พรอปเพอร์ตี (property) ของคลาส สิ่งที่สำคัญเกี่ยวกับฐานข้อมูลแบบออบเจกต์ก็คือ ผู้ใช้ไม่มีความจำเป็นต้องรู้เรื่องวิธีการทำงานภายในของแต่ละเมธอด ผู้ใช้สามารถเข้าถึงออบเจกต์ลูกค้า และใช้เมธอดสั่งซื้อสินค้าได้เลย ทั้งนี้การเชื่อมต่อระหว่างออบเจกต์สินค้ากับใบสั่งซื้อ ที่มีผลกระทบจากการใช้เมธอดสั่งซื้อสินค้าอาจมองเห็นได้โดยผู้ใช้ หรือไม่ก็ได้

4.6 แบบจำลองฐานข้อมูลแบบมัลติไดเมนชัน (Multidimensional database model)แบบจำลองชนิดนี้ใช้งานกับคลังข้อมูล (data warehousing) โดยจะนำเสนอข้อมูลในลักษณะไดเมนชัน ทำให้วิวข้อมูลได้สองทางเพื่อให้สามารถมองเห็นปัญหาในธุรกิจ และสร้างวิธีการแก้ไขปัญหาได้ดียิ่งขึ้น กล่าวคือ แบบจำลองฐานข้อมูลมัลติไดเมนชันนี้จะมีการนำกระบวนการทำงานทางธุรกิจมาจัดการให้อยู่ในรูปของมิติ

5 ข้อดีและข้อเสียของแบบจำลองฐานข้อมูลแต่ละชนิด แบบจำลองฐานข้อมูลลำดับชั้น (Hierarchical database model) ข้อดี

· มีโครงสร้างที่เข้าใจง่าย ซึ่งเป็นลักษณะต้นไม้ (Tree)

· มีโครงสร้างที่ซับซ้อนน้อยที่สุด และเหมาะกับข้อมูลที่มีความสัมพันธ์แบบ One-to-many

· ป้องกันความปลอดภัยในข้อมูลที่ดี

· เหมาะกับข้อมูลที่มีการเรียงลำดับแบบต่อเนื่อง

1. ข้อเสีย

· ไม่สามารถรองรับข้อมูลที่มีความสัมพันธ์ในลักษณะของ many-to-many ได้

· มีความยืดหยุ่น หรือมีความคล่องตัวน้อย

· เนื่องจากในการเรียกใช้ข้อมูลจำเป็นต้องผ่าน root เสมอ ดังนั้นหากต้องการค้นหาข้อมูลซึ่งอยู่ในระดับต่าง ๆ ก็จะต้องค้นหาทั้งแฟ้ม

· การพัฒนาโปรแกรมค่อนข้างยาก เพราะต้องทราบถึงโครงสร้างทางฟิสิคอลของข้อมูลที่จัดเก็บอยู่ในฐานข้อมูล

แบบจำลองฐานข้อมูลเครือข่าย (Network database model) ข้อดี

ข้อเสีย

· เนื่องจากสามารถเข้าถึงเรคอร์ดได้โดยตรง ทำให้การป้องกันความปลอดภัยของข้อมูลมีน้อย

· สิ้นเปลืองเนื้อที่หน่วยความจำในการเก็บพอยน์เตอร์

· การเปลี่ยนแปลงในโครงสร้างยังมีความยุ่งยากอยู่

แบบจำลองฐานข้อมูลเชิงสัมพันธ์ (Relational database model) ข้อดี

· มีความเข้าใจ และสื่อสารได้เข้าใจง่าย เนื่องจากนำเสนอในลักษณะตาราง 2 มิติ

· สามารถเลือกวิวข้อมูลตามเงื่อนไขได้หลายคีย์ฟิลล์

· ความซับซ้อนในข้อมูลมีน้อยมาก

· มีระบบความปลอดภัยที่ดี

· โครงสร้างข้อมูลมีความอิสระจากโปรแกรม และเป็นแบบจำลองฐานข้อมูลที่ผู้ใช้งานนิยมใช้มากที่สุด

ข้อเสีย

· จำเป็นต้องเสียค่าใช้จ่ายในระบบค่อนข้างสูง เนื่องจากทรัพยากรทั้งตัวฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ที่นำมาใช้ต้องมีความสามารถสู.

· เนื่องจากไม่ทราบถึงกระบวนการจัดเก็บข้อมูลในฐานข้อมูลที่แท้จริงเป็นอย่างไร

8. ประเภทของความสัมพันธ์ของข้อมูล

สำหรับความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูล สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ลักษณะดังนี้

1.ความสัมพันธ์แบบ One – to – Oneเป็นความสัมพันธ์ที่แต่ละรายการของข้อมูล “A” มีความสัมพันธ์กับข้อมูล “B” เพียงรายการเดียว เช่น กรณีลูกค้าสามารถมีบัญชีเงินฝากได้เพียงบัญชีเดียว หรือกรณีที่แต่ละบัญชีเงินฝากสามารถมีเจ้าของบัญชีได้เพียงคนเดียว

2.ความสัมพันธ์แบบ One-to-manyเป็นความสัมพันธ์ที่แต่รายการของข้อมูล “A” มีความสัมพันธ์กับข้อมูล “B” มากกว่า 1 รายการ เช่น กรณีลูกค้าสามารถมีบัญชีเงินฝากได้มากกว่า 1

3.ความสัมพันธ์แบบ Many-to-Manyเป็นความสัมพันธ์ที่แต่ละรายการของข้อมูล “A” มีความสัมพันธ์กับข้อมูล “B” มากกว่า 1 รายการ แต่ในขณะเดียวกันแต่ละรายการของข้อมูล “B” ก็มีความสัมพันธ์กับข้อมูล “A” มากกว่า 1 รายการเช่นเดียวกัน เช่น กรณีลูกค้าสามารถมีบัญชีเงินฝากได้มากกว่า 1 บัญชี และแต่ละบัญชีเงินฝากสามารถมีเจ้าของบัญชีได้มากกว่า 1 คน


 
 
 

Commenti


1. นางสาวจุฑามาศ              คำหอม

2. นางสาวเจนนภา               ดิษฐทรัพย์

3. นางสาวฉันทิศา                จันทรปุโรหิต

4. นายณัฐชนน                       ชาวบ้านกร่าง

5. นางสาวณัฐชา                   รุ่งโรจน์

6. นางสาวน้ำฝน                    ทาวุ่น

7. นางสาวนุจรี                        บรรจง

8. นางสาวเบญจวรรณ        เจริญสุข

9. นางสาวประภัสสร            จัดสารีกิจ

10. นางสาวประภัสสร          อินสว่าง

© 2018 BY ACC36021N Group 2 WITH WIX.COM

Director by 

bottom of page