top of page
48412713_931683453694197_480701635075086
ค้นหา

บทที่ 3 ระบบสารสนเทศทางการบัญชีและกระบวนการทางธุรกิจ

  • รูปภาพนักเขียน: เรียกสิ'เบญจี้ เบญจี้
    เรียกสิ'เบญจี้ เบญจี้
  • 14 เม.ย. 2562
  • ยาว 2 นาที



บทที่ 3 ระบบสารสนเทศทางการบัญชีและกระบวนการทางธุรกิจ

ความหมายระบบสารสนเทศทางการบัญชี

ในอดีตการบริหารธุรกิจจะประสบความสำเร็จหรือไม่จะขึ้นอยู่กับตัวบุคคลเป็นสำคัญ กล่าวคือถ้าคนใดสามารถวางแผนได้ดี ควบคุมงานได้ดี ก็จะทำให้การบริหารกิจการนั้นสัมฤ

ทธิ์ผลได้ แต่ในปัจจุบันเมื่อธุรกิจมีการแข่งขันมากขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ได้มีการพัฒนามากขึ้น คุณภาพของการบริหารและความอยู่รอดขององค์นั้นจึงขึ้นกับระบบมากกว่าตัวบุคคล ดังนั้นการบริหารสมัยใหม่ จะให้ความสำคัญกับระบบข้อมูล และระบบสารสนเทศมากขึ้น เพราะหากกิจการใดมีระบบสารสนเทศที่ดีกว่าก็จะทำให้สามารถให้ข้อมูลในการตัดสินใจที่รวดเร็ว ถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากกว่า ซึ่งจะส่งผลให้กิจการนั้นสามารถอยู่รอดได้มากกว่าระบบสารสนเทศทางการบัญชี เป็นระบบที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแปลงหรือประมวลผลข้อมูลทางการเงิน ให้เป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์ในการตัดสินใจต่อผู้ใช้ สำหรับผู้ใช้ประโยชน์จากสารสนเทศทางการบัญชีอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ บุคคลภายในองค์กร และบุคคลภายนอกองค์กรเช่น ผู้ถือหุ้น นักลงทุน เจ้าหนี้ หน่วยงานของรัฐบาล และคู่แข่งขัน เป็นต้น ทั้งนี้กระบวนการแปลงข้อมูลหรือ ประมวลผลข้อมูลในระบบสารสนเทศทางการบัญชีนั้นอาจกระทำด้วยมือหรือใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยก็ได้ ตัวอย่างของสารสนเทศทางการบัญชี ที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ใช้ เช่น งบกำไรขาดทุน งบดุล งบกระแสเงินสด เป็นต้น ซึ่งสารสนเทศเหล่านี้ได้มาจากการประมวลผลรายการค้าต่าง ๆ ของกิจการดังนั้นรายการค้าแต่ละรายการ เช่น รายการขายสินค้า ซื้อสินค้า ฯลฯ จึงถือว่าเป็นตัวอย่างของข้อมูล ของระบบสารสนเทศทางการบัญชี สารสนเทศเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และมีค่า ต่อการตัดสินใจเพราะเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มพูนความรู้ทำให้สามารถคาดการณ์สิ่งต่าง ๆ ในอนาคตได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น และช่วยลดความไม่แน่นอนให้แก่ผู้ที่ทำการตัดสินใจโดยทำให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สารสนเทศจะมีประโยชน์หรือมีค่าต่อผู้ใช้มากน้อยเพียงใดนั้นจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของสารสนเทศนั้น ๆ สารสนเทศที่มีคุณภาพควรมีลักษณะที่สำคัญ ๆ มีดังนี้

1.เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ

2.ถูกต้องเชื่อถือได้

3.สมบูรณ์ครบถ้วน

4.ทันเวลา

5.แสดงเป็นจำนวนได้

6.ตรวจสอบความถูกต้องได้

7.สามารถเข้าใจได้

8.สามารถเปรียบเทียบกันได้

อ้างอิงhttp://accsystemcha.blogspot.com/

เหตุผลที่นักบัญชีควรศึกษาและทำความเข้าใจระบบการสื่อสารข้อมูลนักบัญชีมักจะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางธุรกิจ ซึ่งความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ของการตัดสินใจนั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพของสารสนเทศที่ได้รับ ว่าได้ทันตามเวลาที่ต้องการและมีความถูกต้องหรือไม่ แต่จากการที่แนวโน้มของธุรกิจในยุคปัจจุบันนั้น มีโครงสร้างองค์กรที่สลับซับซ้อน และมีสาขาหรือหน่วยงานที่กระจายแยกกันไปตามภูมิภาคต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ทำให้ปัญหาต่าง ๆ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลและการสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลนั้นเพิ่มมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นจึงมีการนำระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในระบบสารสนเทศทางการบัญชี เพื่อทำให้การส่งและรับข้อมูลระหว่างสาขาหรือหน่วยงานที่กระจายแยกกันไปตามภูมิภาคต่าง ๆ นั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีความถูกต้องน่าเชื่อถือ และยังสามารถทำให้ผู้ใช้ที่ผ่านการอนุมัติสามารถเข้าถึงข้อมูลในระบบสารสนเทศทางการบัญชีของบริษัทได้ในทันทีที่ต้องการ

โดยรวมแล้วมีเหตุผลหลาย ๆ ประการที่นับัญชีควรศึกษาและทำความเข้าใจระบบการสื่อสารข้อมูลได้แก่ ความสามารถในการส่งสารสนเทศการบัญชีไปยังผู้ที่ต้องการใช้ได้ทันกับความต้องการ ไม่ว่าผู้ใช้ข้อมูลนั้นจะอยู่ที่ใดก็ตาม ซึ่งวิธีการที่ดีที่สุด และเร็วที่สุด คือการส่งผ่านระบบการสื่อสารข้อมูลที่รวดเร็วและทันสมัยนักบัญชีซึ่งอาจจะอยู่ในฐานะของผู้ใช้งาน หรือควบคุมดูแลระบบการสื่อสารข้อมูล ดังนั้นนักบัญชีจึงควรทำความเข้าใจพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูล นักบัญชีซึ่งอาจจะอยู่ในฐานะของผู้ตรวจสอบ และเป็นผู้ทำการประเมินการทำงานของระบบการสื่อสารข้อมูล นักบัญชีจึงจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าทำอย่างไรจึงจะมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่มีการส่งผ่านเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลนั้นมีความถูกต้องน่าเชื่อถือ

นอกจากนี้จะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันแนวโน้มของโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีส่วนใหญ่ มีการนำเทคโนโลยีในการสื่อสารข้อมูลมาประยุกต์ใช้ ดังนั้นนักบัญชีไม่ว่าจะอยู่ในฐานะของพนักงานบัญชีในองค์กร หรือที่ปรึกษา หรือผู้สอบบัญชี ต่างก็ควรที่จะสนใจศึกษา ค้นคว้า ทำความเข้าใจและติดตามความก้าวหน้าทางด้านระบบการสื่อสารข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

อ้างอิงhttp://accsystemcha.blogspot.com/

ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี

ปัจจุบันงานของนักบัญชีมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างมาก เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยทำให้มีการพัฒนาชุดคำสั่งสำเร็จรูปหรือชุดคำสั่ง เฉพาะสำหรับช่วยในการเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูล ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาและเพิ่มความถูกต้องใน การทำงานแก่ผู้ใช้ ทำให้นักบัญชีมีเวลาในการปฏิบัติงานเชิงบริหารมากขึ้น เช่น การออกแบบและพัฒนาระบบงาน พัฒนาระบบงบประมาณและระบบข้อมูลสำหรับผู้บริหาร เป็นต้น โดยที่ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information systems) หรือที่เรียกว่า AIS จะเป็นระบบที่รวบรวม จัดระบบ และนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้สารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยระบบสารสนเทศทางการบัญชีจะให้ความสำคัญกับสารสนเทศที่สามารถวัดได้ หรือ การประมวลผล เชิงปริมาณมากกว่าการแก้ปัญหาเชิงคุณภาพ โดยระบบสารสนเทศด้านการบัญชีจะมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วนคือ

1. ระบบบัญชีการเงิน (financial accounting system) บัญชีการเงินเป็นการบันทึกรายการคำที่เกิดขึ้นในรูปตัวเงิน จัดหมวดหมู่รายการต่าง ๆ สรุปผลและตีความหมายในงบการเงิน ได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแสเงินสด โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ นำเสนอสารสนเทศแก่ผู้ใช้และผู้ที่สนใจข้อมูลทางการเงินขององค์การ เช่น นักลงทุนและเจ้าหนี้ นอกจากนี้ยังจัดเตรียมสารสนเทศในการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่งนักบัญชีสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศใช้ในการประมวลข้อมูล โดยจดบันทึกลงในสื่อต่าง ๆ เช่น เทปหรือจานแม่เหล็ก เพื่อรอเวลาสำหรับทำการประมวลและแสดงผลข้อมูลตามต้องการ

2. ระบบบัญชีบริหาร (managerial accounting system) บัญชีบริหารเป็นการนำเสนอข้อมูลทางการเงินแก่ผู้บริหาร เพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ ระบบบัญชีจะประกอบด้วย บัญชีต้นทุน การงบประมาณ และการศึกษาระบบ โดยมีลักษณะสำคัญคือ

- ให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศทางการบัญชีแก่ผู้ใช้ภายในองค์การ

- ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในอนาคตของธุรกิจ

- ไม่ต้องจัดทำสารสนเทศตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

- มีข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน

- มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน

AIS จะให้ความสำคัญกับการรวบรวมข้อมูลและการติดต่อสื่อสารทางการเงิน ซึ่งเป็นกระบวนการติดต่อสื่อสารมากกว่าการวัดมูลค่า โดยที่ AIS จะแสดงภาพรวม จัดเก็บ จัดโครงสร้าง ประมวลข้อมูล ควบคุมความปลอดภัย และการรายงานสารสนเทศทางการบัญชี ปัจจุบันการดำเนินงานและการไหลเวียนของข้อมูลทางการบัญชีมีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้นักบัญชีต้องกำหนดคุณสมบัติของสารสนเทศด้านการบัญชีให้สัมพันธ์กับการดำเนินงานขององค์การ ประการสำคัญ AIS และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะมีทั้งส่วนที่แยกออกจากกันและเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน แต่ MIS จะให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจของผู้บริหาร ขณะที่ AIS จะประมวลสารสนเทศเฉพาะสำหรับผู้ใช้งานทั้งภายในและภายนอกองค์การ เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ และผู้บริหาร เป็นต้น

อ้างอิงhttp://accsystemcha.blogspot.com/

ระบบสารสนเทศทางการบัญชี

คือ ระบบที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแปลงหรือประมวลผลข้อมูลทางการเงิน ( Financial data ) ให้เป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์ในการตัดสินใจต่อผู้ใช้

ผู้ใช้ประโยชน์แบ่งได้2กลุ่มใหญ่ๆคือ

1.บุคคลภายในองค์กร(ได้แก่ผู้บริหารในระดับต่างๆ )

2. บุคคลภายนอกองค์กร เช่นผู้ถือหุ้น นักลงทุน เจ้าหนี้ หน่วยงานรัฐบาล และคู่แข่งขัน เป็นต้น

สารสนเทศที่เป็นประโยชน์

งบกำไรขาดทุน

งบดุล

งบกระแสเงินสด

อ้างอิงhttp://accsystemcha.blogspot.com/

ส่วนประกอบทางการบัญชี

1.เป้าหมายและวัตถุประสงค์ ( Goals and Objectives )

2.ข้อมูลเข้า ( Inputs )

ยอดขายสินค้า ราคาขายของกิจการ

ราคาขายของคู่แข่งขัน ยอดขายของคู่แข่งขัน

3.ตัวประมวลผล ( Processor ) คือ เครื่อง มือที่ ใช้ ในการแปลงสภาพจากข้อมูลให้ เป็นสารสนเทศ มักใช้ คอมพิวเตอร์ทำงานการคำนวณ การเรียงลำดับ การคิดร้อยละ การจัดหมวดหมู่ การจัดทำกราฟ ฯลฯ

4. ข้อมูลออก หรือผลลัพธ์ ( Output ) คือ สารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้

5. การป้อนกลับ ( Feedback)

6.การ เก็บ รักษาข้อมูล ( Data Storage )

7. คำสั่งและขั้นตอนการ ปฏิบัติงาน ( Instructions and Procedures )

8.ผู้ใช้ ( Users)

9. การควบคุมและรักษา ความปลอดภัยของข้อมูล ( Control and Security Measures )

อ้างอิงhttp://accsystemcha.blogspot.com/

หน้าที่AIS

1. การรวบรวมข้อมูล ( Data Collection )

2. การประมวลผลข้อมูล ( Data Processing )

3. การจัดการข้อมูล ( Data Management )

4.การควบคุมข้อมูล และรักษา ความปลอดภัยของข้อมูล

( Data Control and Data Security )

5. การจัดทำสารสนเทศ ( Information Generation )

ระบบสารสนเทศทางการบัญชี คือ ระบบการทำงานระบบหนึ่งซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ ทรัพยากรมนุษย์ และนโยบายของบริษัทเน้นถึงการใช้ข้อมูลทางการบัญชีที่เกิดจากการดำเนินกิจกรรมทางธุรกิจเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์หลักดังนี้

1.การเก็บรวบรวมและบันทึกรายการค้าของหน่วยงาน

2.การประเมินผลข้อมูลเพื่อให้ได้สารสนเทศที่มีประโยชน์ การวางแผน การสั่งการ

และการควบคุม

3.การจัดให้มีการควบคุมข้อมูลของหน่วยงานเพื่อให้แน่ใจว่าข้อมูลมีความครบถ้วน

ถูกต้อง และเชื่อถือได้สามารถจัดแบ่งประเภทของผู้ใช้สารสนเทศทางการบัญชีได้2 ประเภท

ประเภทที่ 1 ผู้ใช้ภายในหน่วยงานประกอบด้วยบุคลากรผู้ปฏิบัติงานในฝ่ายต่างๆ

ประเภทที่ 2 ผู้ใช้ภายนอกหรือผู้มีส่วนได้เสียทางหน่วยงาน

อ้างอิงhttp://accsystemcha.blogspot.com/

การบัญชี จากความหมายข้างต้นการบัญชี คือระบบสารสนเทศที่ใช้คอมพิวเตอร์หรือใช้มือจัดทำบัญชีก็ได้ มี 4 ขั้นตอนดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 การจดบันทึก คือ การลงบันทึกความจำซึ่งเกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ทางการเงินที่เกิดขึ้นของแต่ละวัน

ขั้นตอนที่ 2 การจำแนก คือ การนำข้อมูลที่จดบันทึกไว้ในสมุดรายวันในจำแนกหมวดหมู่หรือแยกประเภทบัญชีในสมุดขั้นปลาย

ขั้นตอนที่ 3 การสรุปผล คือ การนำข้อมูลที่ผ่านการจำแนกประเภทมาสรุปผลเป็นรายงานทางการเงินหรืองบ การเงินภายในงวดเวลาบัญชีหนึ่ง

ขั้นตอนที่ 4 การวิเคราะห์และแปลความหมาย คือ การนำข้อมูลซึ่งสรุปผลในรายงานทางการเงินมาทำการวิเคราะห์ในรูปของร้อยละจากนั้นนำผลการวิเคราะห์มาแปลความหมายและนำเสนอผลการวิเคราะห์แก่บุคคลที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกของหน่วยงาน

อ้างอิงhttp://accsystemcha.blogspot.com/

การจำแนกประเภท

สามารถจำแนกประเภทการบัญชีได้เป็น 2 หมวดคือ

1 การบัญชีการเงิน คือ การจัดทำบัญชีที่อยู่ภายใต้วัฎจักรการบัญชีมีการสร้างระบบประมวลผลข้อมูลทางการบัญชีขั้นพื้นฐานของธุรกิจเริ่มตั้งแต่การจัดเก็บรวบรวมเอกสารขั้นต้นซึ่งบรรจุรายการเปลี่ยนแปลงทางการค้าที่เกิดขึ้นในแต่ละวันมาบันทึกรายการในสมุดขั้นต้นหรือสมุดรายวันและผ่าน

รายการบัญชีไปยังสมุดแยกประเภทจากนั้นจึงทำการสรุปยอดคงเหลือในงบทดลองก่อนปรับปรุงรายการเมื่อสิ้นงวดเวลาบัญชีก็จะดำเนินการปรับปรุงรายการบัญชีบางประเภทหลังจากนั้นจึงจัดทำงบกำไรขาดทุนพร้อมทั้งดำเนินการปิดบัญชีกำไรขาดทุนเข้าบัญชีทุนหรือส่วนของเจ้าของและทำการปรับงบทดลองหลังปิดบัญชี

2 การบัญชีบริหาร คือ การนำข้อมูลบัญชีการเงินมาทำการจัดรูปแบบและประมวลผลเพื่อให้ได้รายงานตามความต้องการของผู้ใช้กำหนดรูปแบบของรายงานไม่มีความชัดเจนขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้ใช้รายงานหรือผู้บริหารระดับต่างๆขององค์การโดยส่วนใหญ่มักอยู่ในรูปแบบของรายงานผลการดำเนินงาน

3. หลักการบัญชี คือมีการนำเสนอสารสนเทศทางการที่มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือได้และเป็นที่ยอมรับอย่างกว้างขวางของผู้ใช้งบการเงินด้วยเหตุนี้หน่วยงานต้องคำนึงถึงการเลือกวิธีปฏิบัติทางการบัญชีที่เหมาะสมและมีความสอดคล้องกับผลักบัญชีที่รับรองทั่วไปสามารถสรุปสาระสำคัญของหลักการบัญชีได้ดังนี้

3.1 หลักการดำรงอยู่ของหน่วยงาน

3.2 หลักความเป็นหน่วยงาน

3.3 หลักงวดเวลาบัญชี

3.4 หลักการจำแนกประเภทบัญชี จำแนกออกเป็น 5หมวดดังนี้

3.4.1สินทรัพย์หมายถึงทรัพยากรที่อยู่ในความควบคุมของหน่วยงานและสามารถนำไปใช้ในอนาคตสินทรัพย์บางชนิดอาจเกิดจากการแลกเปลี่ยนทรัพยากร

3.4.2 หนี้สิน หมายถึง ภาระผูกในปัจจุบันที่ส่งผลมาจากการกู้ยืมเงินในอดีตมีสัญญาว่าจะมีการชำระหนี้สินหรือภาระผูกพันนั้นในอนาคต

3.4.3 ส่วนของเจ้าของ หมายถึง จำนวนเงินลงทุนในธุรกิจอีกนัยหนึ่งคือส่วนได้เสียคงเหลือในสินทรัพย์ของกิจการภายหลังจากที่มีการหักหนี้สินออกแล้ว

3.4.4 รายได้ หมายถึง ราคาสินค้าหรือบริการที่ขายได้ในระหว่างงวดเวลาบัญชีรวมถึงรายได้กำไรที่แสดงให้เห็นถึงการเพิ่มขึ้นของผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจอาจเกิดจากกิจกรรมตามปกติของกิจการหรือไม่ก็ได้

3.4.5 ค่าใช้จ่าย หมายถึง ต้นทุนของทรัพยากรที่ใช้ไปในการดำเนินงานของธุรกิจระหว่างเวลางวดเวลาบัญชี รวมถึงรายการขาดทุนที่แสดงถึงการลดลงของผลประโยชน์เชิงเศรษฐกิจอาจจะเกิดจาก

กิจกรรมตามปกติของกิจการหรือไม่ก็ได้

3.5 หลักการบัญชีคู่ คือการบันทึกรายการเปลี่ยนแปลงสองครั้งหรือการอ้างอิงถึงตัวเลขทางการเงินของรายการค้าถึงสองครั้งโดยครอบคลุมไปถึงการบันทึกบัญชีในสมุดรายวันและสมุดแยกประเภทคือ

3.5.1 ด้านเดบิต

3.5.2 ด้านเครดิต

3.6 หลักการใช้หน่วยเงินตราหน่วยเงินตราที่ใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าหรือบริการและยังใช้เป็นหน่วยวัดราคาอีกด้วย ดังนั้นหน่วยเงินตราจะแสดงถึงตัวเลขที่เป็นตัวเลขเพื่อใช้วัดผลการดำเนินงานและการเปลี่ยนแปลงฐานะทางการเงินของธุรกิจในประเทศไทยจะใช้หน่วยเงินบาทและสตางค์

3.7 หลักการใช้หลักฐานอันเที่ยงธรรม คือ เอกสารขั้นต้นเช่นใบเสร็จรับเงินไว้เป็นหลักฐานก่อนการบันทึกรายการบัญชีที่เกิดขึ้นจริง

3.8 หลักการรับรู้รายได้และค่าใช้จ่าย ได้ 2 วิธี คือ

3.8.1 เกณฑ์เงินสดรายได้และค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นและบันทึกบัญชีเมื่อมีการรับเงินสดเข้ากิจกาหรือจ่ายเงินสดออกจากกิจการ

3.8.2 เกณฑ์คงค้าง รายได้และค่าใช้จ่ายเกิดขึ้นและบันทึกบัญชีเมื่อมีธุรกรรมเกิดขึ้นแม้ว่าจะไม่

อ้างอิงhttp://accsystemcha.blogspot.com/

มีการรับหรือจ่ายเงินสดก็ตามสามารถยกตัวอย่างเพื่ออธิบายดังนี้

1.การขายสินค้าเป็นเงินเชื่อจะรับรู้รายได้เป็นงวดบัญชีที่มีการขายเกิดขึ้นจริงเท่านั้น

2.การจ่ายชำระค่าไฟฟ้าของเดือนมีนาคมแต่จ่ายชำระจริงในเดือนเมษายนก็จะต้องรับรู้ค่าใช้จ่ายในเดือนมีนาคม

3.9 หลักการจับคู่รายได้และค่าใช้จ่ายการนำรายได้ที่เกิดขึ้นของงวดเวลาบัญชีนั้นทั้งหมดหักด้วยค่าใช้จ่ายที่ก่อให้เกิดรายได้นั้นจึงจะได้ตัวเลขกำไรขาดทุนที่แท้จริง

3.10หลักการด้อยค่าของสินทรัพย์มีการประมาณอายุใช้งานของสินทรัพย์ตลอดจนมีการตัดจ่ายต้นทุนของสินทรัพย์เป็นค่าใช้จ่ายซึ่งปรากฏในกำไรขาดทุน

สารสนเทศทางการบัญชี

อ้างอิงhttp://accsystemcha.blogspot.com/

แนวคิด

สารสนเทศทางการบัญชี คือ สารสนเทศที่ได้มาจากระบบสารสนเทศทางการบัญชี คือ งบการเงินและการภาษีมูลค่าเพิ่มที่นำเสนอต่อผู้ใช้งบการเงินและกรมสรรพากรและในส่วนการบัญชีบริหาร คือ รายงานวิเคราะห์ต้นทุนต่างๆรายงานงบประมาณซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่ออกจากระบบสารสนเทศทางการบัญชีและใช้เป็นหลักฐานทางการเงินดังนี้

1.ช่วยให้ธุรกิจทราบกำไรที่แท้จริงขององค์การ

2.ช่วยให้ธุรกิจทราบฐานะทางการเงินของกิจการ

3.ช่วยเป็นเครื่องมือสนับสนุนการหาแหล่งเงินทุนของธุรกิจ

4.ช่วยเป็นเครื่องมือในการเสียภาษี

5.ช่วยในการวางแผนธุรกิจ

6.ช่วยในการปรับปรุงและพัฒนาธุรกิจให้เจริญก้าวหน้าต่อไปได้

อ้างอิงhttp://accsystemcha.blogspot.com/

การจำแนกประเภท แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ

2.1 เอกสารทางการบัญชี คือหลักฐานซึ่งอยู่ในรูปแบบของเอกสารที่ใช้บันทึกรายการบัญชีมีจุดเริ่มต้นตั้งแต่เอกสารที่ระบุแหล่งข้อมูลเบื้องต้นจนกระทั่งเอกสารที่ใช้บันทึกข้อมูลก่อนที่จะออกงบการเงินจำแนกได้ 4 ประเภทดังนี้

2.1.1 เอกสารขั้นต้นเอกสารใช้สำหรับการลงบัญชีและการบันทึกรายการเริ่มตั้งแต่การเกิดรายการค้า

2.1.2 สมุดรายวัน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่าสมุดบัญชี คือเอกสารที่นำมาใช้สำหรับการบันทึกบัญชีในระบบมือ

2.1.3 บัญชีแยกประเภทเอกสารที่ได้จากการผ่านรายการบัญชีจากสมุดรายวันโดยมีการจำแนกหมวดหมู่บัญชีที่เกี่ยวข้อง

2.1.4 งบทดลองเอกสารที่แสดงยอดคงเหลือในบัญชีทุกบัญชีของบัญชีแยกประเภท

2.2 รายงานทางการเงิน คือรายงานซึ่งเป็นผลลัพธ์จากระบบสารสนเทศทางการบัญชีการเงิน

หรือระบบบัญชีแยกประเภทและรายงานทางการเงินแบ่งออกเป็น 2ส่วนคือ

2.2.1 งบการเงินรายงานที่แสดงผลการดำเนินฐานะการเงินหรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการแบ่งได้ดังนี้

1. งบดุล แสดงฐานะทางการเงินของกิจการ

2. งบกำไรขาดทุน แสดงผลการดำเนินงานของธุรกิจ

3. งบกระแสเงินสดงบแสดงการไหลเข้าและไหลออกของกระแสเงินสด

4. งบแสดงการเปลี่ยนแปลงในส่วนของเจ้าของ

5. หมายเหตุประกอบงบการเงินเป็นส่วนที่ให้ข้อมูลหรือรายละเอียดจากรายการและตัวเลขที่แสดงในงบการเงินประกอบด้วย3 ส่วนดังนี้

1. เกณฑ์การจัดทำงบการเงิน

2. นโยบายการบัญชีที่ธุรกิจเลือกใช้ของแต่ละหัวข้อบัญชี

3. ข้อมูลส่วนอื่น

2.2.2 รายงานภาษีมูลค่าเพิ่ม มี 3รูปแบบดังนี้

1.รายงานภาษีขายเป็นรายงานที่กำหนดให้ธุรกิจบันทึกภาษีขายที่ธุรกิจพึงเรียกเก็บจากลูกค้า

2. รายงานภาษีซื้อรายงานที่ธุรกิจบันทึกภาษีซื้อที่ถูกเรียกเก็บจากธุรกิจผู้จำหน่ายสินค้า

3. รายงานสินค้าและวัตถุดิบแสดงสินค้าที่ได้มาและจำหน่ายไป

2.3 รายงานทางการบริหาร คือรายงานซึ่งเป็นผลลัพธ์จากการนำสารสนเทศที่ไดจากงบการเงินมาทำการวิเคราะห์ทางการเงินเพื่อให้ได้สารสนเทศที่นำไปใช้ตัดสินใจทางการดำเนินงานและการบริหารภายในองค์การการกำหนดรูปแบบขึ้นอยู่กับความต้องการของผู้บริหารระดับต่างๆสามารถยก

ตัวอย่างได้ดังนี้

2.3.1 รายงานด้านงบประมาณ

2.3.2 รายงานด้านการบัญชีต้นทุน

2.3.3 รายงานวิเคราะห์งบการเงิน

อ้างอิงhttp://accsystemcha.blogspot.com/

กระบวนการทางธุรกิจของระบบสารสนเทศ

Hall ระบุถึงการรวมตัวของระบบย่อยของระบบสารสนเทศทางการบัญชี 3ระบบดังนี้

1.ระบบประมวลผลธุรกรรม คือระบบที่สนับสนุนการดำเนินงานทางธุรกิจประจำวัน

2.ระบบบัญชีแยกประเภทและรายงานทางการเงิน คือระบบที่ใช้ผลิตรายงานทางการเงิน

3.ระบบรายงานทางการบริหาร คือระบบที่ใช้ผลิตรายงานที่ใช้ภายในองค์การ

ระบบประมวลผลธุรกรรมจะมีการจำแนกธุรกรรมที่เป็นตัวเงินขั้นพื้นฐานทางการผลิต การตลาด

การบริหารทรัพยากรมนุษย์และการเงินผ่านรายการเข้าสู่ระบบบัญชีแยกประเภททำการปรับยอดคงเหลือในบัญชีที่เกี่ยวข้องเพื่อเตรียมพร้อมสำหรับการประมวลผลเพื่อออกรายงานทางการเงินเมื่อสิ้น

งวดวันออกบัญชีการประมวลสารสนเทศทางการบัญชีที่เป็นผลลัพธ์จากบัญชีแยกประเภทเพื่อตอบสนองความต้องการใช้ข้อมูลของผู้บริหาร สามารถแยกได้ 5 ระบบดังนี้

1. ระบบประมวลผลธุรกรรม มีลักษณะที่คล้ายคลึงกันและเกิดขึ้นซ้ำๆในแต่ละวันทำการ การเกิดขึ้นซ้ำของธุรกรรมนี้เรียกว่าวัฏจักรรายการค้า

พลพธู ปิยวรรณและสุภาพรรณ เชิงเอี่ยม จำแนกวัฏจักรรายการค้าเป็น4 ประเภทคือ

1.1วัฏจักรรายจ่ายที่ก่อให้เกิดรายจ่ายประกอบด้วยกระบวนการทางธุรกิจดังนี้

1. การสั่งซื้อละรับสินค้า

2. การควบคุมเจ้าหนี้และเงินสดจ่าย

3. การซื้อสินทรัพย์ถาวร

4. การจ่ายเงินเดือนพนักงาน

1.2 วัฏจักรรายได้ที่ก่อให้เกิดรายรับเข้าธุรกิจประกอบด้วยกระบวนการทางธุรกิจดังนี้

1. การขายและจัดส่งสินค้า

2. การแจ้งหนี้และเรียกเก็บเงิน

3. การควบคุมลูกหนี้และรับชำระเงิน

อ้างอิงhttp://accsystemcha.blogspot.com/



 
 
 

Comments


1. นางสาวจุฑามาศ              คำหอม

2. นางสาวเจนนภา               ดิษฐทรัพย์

3. นางสาวฉันทิศา                จันทรปุโรหิต

4. นายณัฐชนน                       ชาวบ้านกร่าง

5. นางสาวณัฐชา                   รุ่งโรจน์

6. นางสาวน้ำฝน                    ทาวุ่น

7. นางสาวนุจรี                        บรรจง

8. นางสาวเบญจวรรณ        เจริญสุข

9. นางสาวประภัสสร            จัดสารีกิจ

10. นางสาวประภัสสร          อินสว่าง

© 2018 BY ACC36021N Group 2 WITH WIX.COM

Director by 

bottom of page