top of page
48412713_931683453694197_480701635075086
ค้นหา
รูปภาพนักเขียนเรียกสิ'เบญจี้ เบญจี้

บทที่ 11 ขั้นตอนและกระบวนการตรวจสอบ IT


การตรวจสอบคอมพิวเตอร์แบ่งได้เป็น 2 ประเภท คือ การตรวจสอบกิจกรรม หรือการดำเนินงานของหน่วยงานคอมพิวเตอร์ และการตรวจสอบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล

1. การตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานคอมพิวเตอร์ (General Control) เป็นการตรวจสอบเพื่อประเมินผลการควบคุมภายในทั่วไป ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเรื่องเกี่ยวกับมาตรฐานการปฏิบัติงาน ระเบียบ ข้อบังคับ และเอกสารสนับสนุนการปฏิบัติงานหน่วยงานคอมพิวเตอร์และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง มีหัวข้อการตรวจสอบดังนี้

1.1. การตรวจสอบภายในและการสอบบัญชี เป็นการตรวจสอบเพื่อประเมินผลการปฏิบัติงานของผู้ตรวจสอบภายในและผู้สอบบัญชี ซึ่งได้รับมอบหมายจากฝ่ายบริหาร และผู้ถือหุ้นให้เป็นผู้ดำเนินการจัดระบบควบคุมภายในและตรวจสอบ มีขอบเขตการปฏิบัติงานครอบคลุมในเรื่องต่าง ๆ เพียงพอหรือไม่ และเชื่อถือได้เพียงใด

1.2. การจัดการเป็นการตรวจสอบเพื่อพิจารณาถึงความสามารถในการบริหารงานคอมพิวเตอร์ ความเหมาะสมในการแบ่งแยกหน้าที่การจัดสายการบังคับบัญชาและการรายงานผลการปฏิบัติงาน

1.3. การพัฒนาระบบงานและโปรแกรม เป็นการตรวจสอบเพื่อประเมินผลการพัฒนาระบบงานและโปรแกรม การแก้ไขระบบงานและโปรแกรม และความสมบูรณ์ของเอกสารสนับสนุนการปฏิบัติงาน

1.4. การปฏิบัติงานข้อมูลเป็นการตรวจสอบงานเตรียมข้อมูลการกระทบยอดข้อมูล และการจัดส่งข้อมูลให้ผู้ใช้ข้อมูลเพื่อประเมินคุณภาพของข้อมูลว่ามีความถูกต้อง ครบถ้วนและเชื่อถือได้เพียงใด

1.5. การปฏิบัติงานคอมพิวเตอร์ เป็นการตรวจสอบการปฏิบัติงานภายในห้องคอมพิวเตอร์ การจัดเก็บแฟ้มข้อมูล การรักษาความปลอดภัย การจัดระบบสำรองเตรียมไว้ทดแทนยามฉุกเฉิน

1.6. การสื่อสารข้อมูล (กรณีใช้ Hardware และ/หรือ Software ร่วมกันหลายระบบงาน) เป็นการตรวจสอบเพื่อประเมินผลการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่ประมวลผลผ่านระบบสื่อสาร

1.7. การใช้บริการคอมพิวเตอร์ของผู้อื่นภายนอกกิจการ กรณีไม่มีเครื่องคอมพิวเตอร์เป็นของตนเอง ควรมีการตรวจสอบสัญญาการใช้บริการ การคิดค่าบริการฐานะและการดำเนินงานของศูนย์บริการคอมพิวเตอร์ นอกเหนือจากการตรวจสอบตามหัวข้อที่กล่าวมาแล้วด้วย เพื่อป้องกันธุรกิจที่จำเป็นต้องใช้ข้อมูลที่ประมวลผลด้วยคอมพิวเตอร์ต้องหยุดชะงัก หากศูนย์คอมพิวเตอร์ไม่สามารถให้บริการได้ตามปกติด้วยเหตุใดก็ตาม(ที่มา : https://itgthailand.wordpress.com)


2. การตรวจสอบระบบงานที่ใช้คอมพิวเตอร์ประมวลผล (Application Controls) เป็นการตรวจสอบเพื่อประเมินผลการควบคุมภายในเฉพาะงาน ซึ่งผู้ตรวจสอบจะสัมผัสกับรายการข้อมูลทุกรูปแบบ ในแต่ละระบบมากกว่าการตรวจสอบการดำเนินงานของหน่วยงานคอมพิวเตอร์ มีหัวข้อการตรวจสอบดังนี้

2.1. แหล่งกำเนิดรายการหรือแหล่งที่มาของรายการเป็นการตรวจสอบ

– การจัดทำเอกสารขั้นต้น หรือเอกสารประกอบรายการ

– การอนุมัติรายการ

– การเตรียมข้อมูลนำเข้า

– การเก็บรักษาเอกสารขั้นต้น

– การแก้ไขเอกสารที่มีข้อผิดพลาด

2.2. การทำรายการป้อนเข้าสู่ระบบงาน เป็นการตรวจสอบ

–การทำรายการป้อนข้อมูลเข้าสู่ระบบงาน ซึ่งอาจทำได้ 2 วิธีคือ Terminal Data Entry และ Batch Data Entry

– หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการควบคุมการทำรายการ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้องและครบถ้วน

– การแก้ไขข้อผิดพลาดในการทำรายการป้อนเข้าสู่ระบบงาน

2.3. การสื่อสารข้อมูล เป็นการตรวจสอบทางเดินของข้อมูลที่ผ่านระบบสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วย – การใช้เครื่อง Terminal ส่งข้อมูลหรือข่าวสาร ป้อนเข้าสู่ระบบงาน

– การเคลื่อนย้ายข้อมูลในระบบสื่อสาร ซึ่งต้องอาศัย Hardware และ Software ควบคุมการเคลื่อนย้ายข้อมูล

– การบันทึกรายละเอียดในการติดต่อสื่อสารระหว่างเครื่อง Terminal กับ CPU ไว้ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์

2.4. การประมวลผล ได้แก่ การตรวจสอบ

– ความเคลื่อนไหว หรือทางเดินของข้อมูลที่ประมวลผลในแต่ละโปรแกรมหรือระบบงาน เพื่อพิจารณาว่าการประมวลผลทุกขั้นตอนมีความถูกต้อง ครบถ้วน และเชื่อถือได้เพียงใด

– การกำหนดจุดตั้งต้นในแต่ละขั้นตอนของการประมวลผล และการแก้ไขสถานการณ์ให้กลับคืนสู่สภาพปกติเมื่อเกิดเหตุขัดข้อง

– ความถูกต้องแม่นยำของโปรแกรมที่ใช้ประมวล

– การปฏิบัติงานของพนักงานคุมเครื่องคอมพิวเตอร์ในระหว่างดำเนินการประมวลผล

– การมอบอำนาจปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัยในการดำเนินการประมวลผล

– การแก้ไขข้อผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการประมวลผล

2.5. การเก็บรักษาข้อมูลและการนำข้อมูลไปใช้งาน เป็นการตรวจสอบ

– การบันทึกข้อมูลใหม่ลงในแฟ้มข้อมูล

– การตัดยอดรายการและหรือแฟ้มข้อมูล ตามวันหรือเวลาที่กำหนดไว้ในระบบงาน เพื่อให้รายการข้อมูลที่ประมวลผลสอดคล้องกับการจัดทำงบการเงิน

– การมอบอำนาจปฏิบัติงานและการรักษาความปลอดภัยเกี่ยวกับแฟ้มข้อมูล

– การแก้ไขข้อผิดพลาดในการบำรุงรักษาแฟ้มข้อมูล และการใช้แฟ้มข้อมูล

2.6. ผลลัพธ์ที่ได้จากการประมวลผล เป็นการตรวจสอบ

– การกระทบยอดข้อมูล

– การจัดส่งข้อมูลที่ได้จากการประมวลผลให้ผู้ใช้ข้อมูล

– การจัดทำทะเบียนคุมเอกสารสำคัญทางการเงิน

– การเก็บรักษาข้อมูลที่ได้จากการประมวลผล

– การแก้ไขข้อมูลหรือผลลัพธ์ที่ผิดพลาด


คุณสมบัติหรือบทบาท หน้าที่ที่ IT Auditor

1. ตรวจสอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามหลักการบริหารความเสี่ยงยุคใหม่ได้สอดคล้องตามมาตรฐานและเทคนิคการตรวจสอบที่เกี่ยวข้องเพื่อสนองความต้องการของผู้บริหารทุกระดับได้

2. วางแผนการตรวจสอบ ตามหลักการบริหารความเสี่ยงทั่วไปและทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีผลกระทบต่อการบรรลุวัตถุประสงค์ขององค์กรได้อย่างมั่นใจ

3. เข้าใจและสื่อสาร ความหมายของกระบวนการทำงานเทคโนโลยีสารสนเทศในการบริหารจัดการเชิงกลยุทธ์ให้กับบุคคลอื่น (ที่มา : https://www.daa.co.th)


ดู 26 ครั้ง0 ความคิดเห็น

โพสต์ล่าสุด

ดูทั้งหมด

Commentaires


bottom of page