ซอฟแวร์บัญชีและองค์กรธุรกิจขนาด เล็ก กลาง ใหญ่
ครั้งนี้จะเป็นเรื่องของการยกประเภทของซอฟต์แวร์สำหรับธุรกิจหรือ Business Software ที่ใช้กัน ตาม “ขนาด” ของธุรกิจ ได้พูดกันไปบ้างแล้ว เกี่ยวกับประเภทกว้างๆของซอฟต์แวร์ ว่ามีให้เลือกมากมายโดยดูจากความต้องการทางธุรกิจ หรือประเภทธุรกิจ แต่บางท่านอาจจะยังไม่แน่ใจว่าควรจะมองหาอะไรก่อน เรามาลองดูกันว่าธุรกิจแต่ละขนาดจะใช้ซอฟต์แวร์ที่เรียกกว่าอะไรกันบ้าง
อ้างอิง โดย คุณจิดาภา ประยูรรัตน์ออกอากาศวันที่ 20/9/2016 ในรายการ Software Sharing ทางวิทยุคลื่นความคิด 96.5 FM Copyright by Double Pine Co., Ltd.
1. ธุรกิจขนาดเล็ก แบบเล็กจริงๆ ทำกันเอง ส่วนใหญ่ก็คนในครอบครัว จะใช้ Office Suite คือพวก Microsoft Office และโปรแกรมบัญชีตัวเล็กๆ ที่ไว้เก็บตัวเลขที่ไม่ซับซ้อน ไม่มีการเอาข้อมูลดิบเหล่านั้นมาวิเคราะห์อะไรมากมาย รายงานส่วนใหญ่จะค่อนข้างตรงไปตรงมา ใส่อะไรได้อย่างนั้น
https://www.youtube.com/watch?v=hk_cPkgIKss
2. ธุรกิจขนาดกลาง หรือจะเรียกว่า SME ก็ได้ กลุ่มนี้ range ของขนาดจะค่อนข้างกว้าง จะเริ่มใช้ซอฟต์แวร์หลากหลายประเภทมากขึ้น อาจจะใช้ซอฟต์แวร์ไม่รวมกัน แยกกันใช้ ข้อดีคือขึ้นงานง่ายและเร็วกว่า เพราะไม่ดึงกันและกัน เหมาะสำหรับองค์กรที่ระบบอาจจะยังไม่โฟลวเป็นระบบขนาดนั้น เช่น
o CRM ไว้บริหารลูกค้าสำหรับทีมขายและการตลาด
o HRM (Human Resources Management) สำหรับทีม HR
o Customer Service Management หรือ Field Service Management สำหรับบริหารทีมบริการลูกค้าทั้งที่นั่งในออฟฟิศ หรือที่ออกไปบริการนอกพื้นที่
o POS (Point of Sales) ระบบขายหน้าร้านสำหรับร้านที่เริ่มมีสาขา หรือจะเป็นพวกหน้าร้านออนไลน์
o Messaging โปรแกรมเพื่อการสื่อสารภายในอย่างเป็นระบบในองค์กร และ
o ซอฟต์แวร์บัญชีที่ตัวใหญ่ขึ้นกว่าเดิม เพราะต้อง process ข้อมูล transaction ที่มากขึ้น เก็บข้อมูลสต็อกที่เยอะขึ้น ละเอียดและซับซ้อนขึ้น ต้องรองรับการทำธุรกิจที่มีเงื่อนไขไม่ตรงไปตรงมา ซึ่งความจริงตรงนี้คือเหตุผลที่ลูกค้าหันมาใช้ MAC-5 มากขึ้น เป็นต้น
https://www.youtube.com/watch?v=_touMbn9Cyo
https://www.youtube.com/watch?v=hgE2Tel9RP8
3. ธุรกิจขนาดใหญ่ถึงใหญ่มาก กลุ่มนี้จะไม่มานั่งเลือกซอฟต์แวร์หลายๆตัวแล้วมาพยายามประติดประต่อกันเองแล้ว จะหันมาใช้ซอฟต์แวร์ที่ ทำหน้าที่พัฒนาศักยภาพของการทำงานของคนและระบบในองค์กร ซึ่งได้แก่
o ระบบ ERP (Enterprise Resources Planning) ที่คนไทยเรารู้จักกันดี ทำหน้าที่รวมทุกหน้าที่ที่จำเป็นในองค์กรรวมกัน โดยส่วนมากก็จะรวมเอา CRM, HRM, SCM, Manufacturing, Warehousing, และระบบอื่นๆ มาเชื่อมกัน
o ระบบ Enterprise Content Management ทำหน้าที่รวบรวมข้อมูลที่กระจัดกระจายในองค์กร จัดการเอกสาร ไฟล์ รูป และอื่นๆในองค์กรให้อยู่ในฐานข้อมูลเดียวกัน มีการจัดการสิทธิการเข้าถึงของคนในแต่ละระดับ
o ระบบ Business Process Management (BPM) โฟกัสที่การพัฒนาระบบให้ส่งผลสูงสุด เพิ่มคุณค่าให้กับสินค้า บริการสำหรับลูกค้า คล้ายคลึงกับการทำ TQM เป็นต้น อ้างอิง โดย คุณจิดาภา ประยูรรัตน์ออกอากาศวันที่ 20/9/2016 ในรายการ Software Sharing ทางวิทยุคลื่นความคิด 96.5 FM Copyright by Double Pine Co., Ltd.
https://www.youtube.com/watch?v=LXEmxqmh2hY
https://www.youtube.com/watch?v=JwhhklaUnh8
จะเห็นได้ว่า เรื่องเหล่านี้สำคัญเพราะทำให้เรารู้ได้ว่าซอฟต์แวร์นี้จะเหมาะกับเราหรือไม่ เวลาไป search หาออนไลน์ แต่ก็ต้องยอมรับว่าความหมายของคำเหล่านี้ยังไม่นิ่งนักในตลาดซอฟต์แวร์ของไทย
จากที่ ดับเบิ้ลไพน์ ทำมา 25-26 ปี เราจะพบเจอลูกค้าที่เป็นธุรกิจกลางถึงใหญ่ ที่ต้องการ ทำให้ระบบงานอัตโนมัติมากขึ้น เก็บข้อมูลได้มากขึ้น และดึงรายงานที่ซับซ้อนได้มากขึ้น รวมถึงนำไปใช้ในการจับขั้นตอนการผลิตเบื้องต้นด้วย บางครั้งลูกค้าของเราก็ใช้ซอฟต์แวร์อื่นควบคู่ไปกับ MAC-5 ของเราด้วย บางครั้งก็เอาเราเข้าไปทดแทนทั้งหมด แต่ที่เราเจอบ่อยมากเลยก็คือ เวลาถามเกี่ยวกับฟีเจอร์ ความสามารถของโปรแกรมเรา จะมีการถามถึงฟีเจอร์ที่ความจริงเป็นของโปรแกรมตัวอื่น ที่ทำหน้าที่เฉพาะเจาะจงลงไป เพราะไม่รู้ว่าสิ่งที่ต้องการนี้มันคือซอฟต์แวร์อีกประเภท เราก็มีหน้าที่ชี้แจงให้ฟังว่าซอฟต์แวร์นี้คืออะไร และเชื่อมกับเราได้ยังไง
ถึงตรงนี้อยากจะย้ำอีกที ว่าประเภทซอฟต์แวร์ที่พูดมา คือซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการบริหารธุรกิจ ซึ่งให้มองว่าเป็น core engine เป็นหลักของธุรกิจ ที่อาจจะไม่ได้มีทุกฟีเจอร์ที่เราต้องการหากฟีเจอร์นั้นเฉพาะเจาะจงกับธุรกิจของเรามากๆ ตรงนี้เราก็ควรจะมองหาการ plug-in หรือการเชื่อมต่อจาก core หลักไปยังซอฟต์แวร์หรือ app ที่ทำหน้าที่นี้โดยตรง
ซึ่งตรงนี้คือสิ่งที่แจนได้ offer ไปในคราวก่อนๆ และได้แนะนำหลายๆ คนไปแล้ว บางคนบอกว่าอยากจะเปิด shop ออนไลน์มันคือตัวไหน อยากจับผลงานของ sales มันคือตัวไหน อยากจะได้ระบบเอาไว้ book เวลา ใช้อะไรได้บ้าง พวกนี้ทั้งหมดคือซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เล็กๆของมัน และทำได้ดี แต่ก็ไม่ได้แปลว่าทุกอย่างจะเชื่อมกันได้เป็นเนื้อเดียวกัน ถ้าอยากจะเชื่อมจริงๆ เราต้องวางแผน และมองภาพใหญ่ให้ออกก่อน แล้วดูว่าจะเอาข้อมูลไหนไปต่อกับอะไร
เอาเป็นว่า สรุปแล้ว หากคุณเป็นธุรกิจที่เล็กมากๆ ก็อาจจะมองหาซอฟต์แวร์บัญชีแบบเล็กๆไปก่อน เราอยากจะแนะนำว่าไม่ควรจะใช้ excel เพราะคนไม่ได้มีมาก ต้องใช้เครื่องทุ่นแรง หากคุณเป็นธุรกิจขนาดกลาง SME ก็ควรจะเริ่มมองหาพวก ERP ขนาดเล็กถึงกลางก่อน มองหาตัวฟีเจอร์บัญชีที่ advanced ขึ้น เข้าไปสังเกตดูว่าหน่วยงานไหนจำเป็นต้องมีระบบเข้าไปเกี่ยวเนื่องมากขึ้นแล้ว เลิกใช้ Excel ถ้าคุณไม่อยากเจองานหนักตอนจะขึ้นใช้ซอฟต์แวร์ใหม่ และหากคุณเป็นธุรกิจใหญ่ก็มองหา ERP ได้เลย
แต่ธุรกิจเล็กก็ไม่ได้แปลว่าซอฟต์แวร์ที่มองหาจะราคาถูกเสมอไป เพราะหากความต้องการเยอะและยาก ก็ต้องขยับขึ้นมาตามลำดับ MAC-5 ของเราจึงมีหลายเวอร์ชั่น เพื่อรองรับธุรกิจเล็กที่ความต้องการใหญ่ และธุรกิจกลางถึงใหญ่ที่มองหาตัวช่วยอย่างสมระดับ
อ้างอิง โดย คุณจิดาภา ประยูรรัตน์ออกอากาศวันที่ 20/9/2016 ในรายการ Software Sharing ทางวิทยุคลื่นความคิด 96.5 FM Copyright by Double Pine Co., Ltd.
Comments