top of page
48412713_931683453694197_480701635075086
ค้นหา

บทที่ 1 ความสัมพันธ์ระหว่างนักบัญชีกับระบบสารสนเทศทางการบัญชี

  • รูปภาพนักเขียน: เรียกสิ'เบญจี้ เบญจี้
    เรียกสิ'เบญจี้ เบญจี้
  • 21 ธ.ค. 2561
  • ยาว 3 นาที

อัปเดตเมื่อ 7 ก.พ. 2562



บุคคลที่อยู่ในสายวิชาชีพทางการบัญชีทุกคนจะต้องเตรียมความพร้อมต่อการเปลี่ยนแปลงขององค์กรธุรกิจ และคาดหวังได้ว่าจะสามารถปรับตัวเข้าสู่สภาวะของเศรษฐกิจที่มีความหลากหลายรูปแบบของโลกแห่งความเป็นจริงขององค์กรธุรกิจได้เป็นอย่างดี ซึ่งในความเป็นจริงแล้วความเป็นไปได้ที่จะต้องเผชิญกับเหตุการณ์ที่อาจจะเกิดขึ้นต่างๆ ที่ไม่อาจคาดคิดได้นั้น เพราะฉะนั้นนักบัญชีจะต้องมีความเข้าใจถึงผลกระทบทั่วไปที่เกี่ยวข้องกับการใช้งาน (Using) การประเมินผลงาน (Evaluating) และการพัฒนาระบบงาน (Developer) อย่างชัดเจน

ดังนั้น จึงต้องกำหนดหลักเกณฑ์ขึ้นใช้ในการกำกับการทำงานขึ้น โดยภายในหลักเกณฑ์จะระบุถึงคำอธิบายลักษณะเฉพาะงานที่สามารถใช้เป็นแนวทางในการปฏิบัติในแต่ละหน้าที่หรือในแต่ละตำแหน่งงาน ไม่ว่าใครก็ตามที่ถูกดำรงตำแหน่งใดๆ ก็สามารถที่จะปฏิบัติงานได้ และตำแหน่งงานทางบัญชีที่รู้จักกันดีก็คือ นักบัญชีการเงิน ผู้เชี่ยวชาญทางภาษี นักบัญชีต้นทุน (บริหาร) ผู้จัดการฝ่ายบัญชี ผู้ตรวจสอบบัญชีและผู้พัฒนาระบบ ซึ่งแต่ละตำแหน่งที่กล่าวมานั้น จะมีความสัมพันธ์กันในระบบสารสนเทศทางการบัญชีขององค์กร ดังรายละเอียดที่จะกล่าวต่อไป

อ้างอิง หนังสือระบบสารสนเทศทางการบัญชี (Accounting Information System)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อรุษ (นพฤทธิ์) คงรุ่งโชค

  • นักบัญชีการเงิน

นักบัญชีการเงิน คือ บุคคลที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับหลักการบัญชีเพื่อทำหน้าที่ในการจัดทำและนำเสนอข้อมูลทางการเงิน โดยจะเริ่มต้นจากการบันทึกข้อมูลจนกระทั่งจัดทำรายงานทางการเงิน ซึ่งอาจประกอบไปด้วยการแสดงยอดคงเหลือ งบแสดงฐานะการเงิน งบกำไรขาดทุน งบกระแสเงินสด และข้อมูลอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลทางการเงิน ซึ่งเราทราบว่ามีบุคคลภายนอกเป็นจำนวนมากที่ต้องการงบการเงินบางส่วนหรือทั้งหมดสำหรับที่จะใช้ในการวางแผนและตัดสินใจในการกำหนดส่วนได้เสียของตน เช่น ผู้ลงทุนและเจ้าหนี้ เป็นต้น ดังนั้นระบบข้อมูลทางบัญชีการเงิน จึงต้องเป็นงบการเงินที่สอดคล้องกับหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป (GAAP) และนักบัญชีการเงินมีความรับผิดชอบที่จะทำให้แน่ใจว่างบการเงินที่จัดทำขึ้นสอดคล้องกับรูปแบบทางการบัญชีที่ถูกกำหนดขึ้นโดยองค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง

อ้างอิง หนังสือระบบสารสนเทศทางการบัญชี (Accounting Information System)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อรุษ (นพฤทธิ์) คงรุ่งโชค

  • ผู้เชี่ยวชาญทางภาษี

ตำแหน่งผู้เชี่ยวชาญทางภาษีเป็นตำแหน่งที่มีจุดประสงค์ที่จากพัฒนาข้อมูลที่มีข้อมูลผูกพันทางภาษีของปัจจัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงานของธุรกิจ รวมทั้งช่วยในการตัดสินใจในส่วนที่มีภาษีเข้ามาเกี่ยวข้องเพราะฉะนั้น ข้อมูลที่ออกมาสำหรับผู้ใช้สามารถแบ่งพิจารณาออกเป็น 2 ประเภท คือ เจ้าหน้าที่ทางภาษีอากรภายนอก (รัฐบาล) ที่จะให้ความสนใจในยอดรายได้ค่าบริการ รายได้รับจากทรัพย์สิน ยอดขาย และแบบฟอร์มอื่น ๆ ซึ่งผู้จัดการของกิจการจะต้องทำการตัดสินใจเกี่ยวกับรายได้ รายงานภาษี และการวิเคราะห์ต่าง ๆ และผู้เชี่ยวชาญทางภาษีใช้ประโยชน์จากข้อมูลของระบบสารสนเทศทางการบัญชี ในการจัดเตรียมเพื่อขอคืนภาษีและนำข้อมูลมาใช้ในการวางแผนทางภาษีอากรเมื่อกฎหมายทางภาษีอากรมีการเปลี่ยนแปลงไป ฉะนั้น จึงมีความจำเป็นที่จะต้องปรับปรุงระบบสารสนเทศทางการบัญชี เพื่อสามารถประมวลผลข้อมูลให้เป็นที่ยอมรับและเกิดความถูกต้องมากที่สุด

อ้างอิง หนังสือระบบสารสนเทศทางการบัญชี (Accounting Information System)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อรุษ (นพฤทธิ์) คงรุ่งโชค

  • นักบัญชีต้นทุน (บริหาร)

นักบัญชีบริหารหรือนักบัญชีต้นทุนมีจุดมุ่งหมายในการจัดหาข้อมูลสารสนเทศทางการเงินเพื่อผู้ใช้ข้อมูลภายใน ซึ่งเป็นข้อมูลสารสนเทศเพื่อใช้ในการดูแลเอาใจใส่และแนะนำโดยตรง (Attention - directing) ต่อฝ่ายจัดการ ซึ่งจะช่วยในการควบคุมการทำงานและกิจกรรมต่าง ๆ ของธุรกิจ รวมทั้งยังช่วยเป็นข้อมูลในการตัดสินใจหาทางออก (decision - oriented) สำหรับช่วยเหลือในการวางแผนปฏิบัติงานและได้จัดเตรียมเพื่อใช้ในการควบคุมและการตัดสินใจ ตัวอย่างของข้อมูลเช่น ข้อมูลต้นทุนผันแปร ข้อมูลต้นทุน – ปริมาณ – กำไร (Coht – Volume – Profit) และข้อมูลที่ใช้ในการคาดคะเนไหลเวียนเงินสด เป็นต้น ทั้งนี้ข้อมูลดังกล่าวไม่มีมาตรฐานการจัดทำมากำหนดรูปแบบที่ตายตัว ซึ่งนักบัญชีต้นทุน (บริการ) จะใช้ระบบมาช่วยในการพัฒนาข้อมูลสารสนเทศเพื่อบริหารรวมทั้งใช้ข้อมูลในการประเมินและเสนอให้มีการปรับปรุงระบบสารสนเทศทางการบัญชีอยู่เสมอ โดยเฉพาะในส่วนที่มีผลกระทบต่อโครงสร้างการตัดสินใจ รูปแบบของรายงานและการวิเคราะห์ต่าง ๆ นักบัญชีต้นทุน (บริหาร) สามารถเป็นผู้ชี้แนะเบื้องต้นให้กับผู้บริหารโดยใช้ข้อมูลสารสนเทศในการนำเสนอนั้นเอง

อ้างอิง หนังสือระบบสารสนเทศทางการบัญชี (Accounting Information System)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อรุษ (นพฤทธิ์) คงรุ่งโชค

  • ผู้จัดการฝ่ายบัญชี

หัวหน้างานทางด้านงานบัญชีก็คือผู้จัดการฝ่ายบัญชีซึ่งเป็นส่วนงานหนึ่งของผู้อำนวยการบัญชีและการเงิน (Controller) และผู้จัดการฝ่ายบัญชีจะทำหน้าที่ในการจัดทำรายงานให้กับผู้อำนวยการฝ่ายบัญชีและการเงิน (Controller) ผู้จัดการฝ่ายบัญชีในที่นี้รวมถึงหัวหน้าบัญชีการเงิน หัวหน้าบัญชีต้นทุนและผู้จัดการงบประมาณ ผู้จัดการเหล่านี้จะมีหน้าที่ในการให้คำปรึกษาปัญหาต่าง ๆ ทางด้านการบัญชีแต่ละด้าน ดังนั้น จึงจำเป็นต้องใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชี ในกาควบคุมกิจกรรมทางการบัญชี รวมทั้งใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีในการประเมินการปฏิบัติงานของพนักงานบัญชี การวางแผนการดำเนินงานและหน้าที่ต่าง ๆ ของส่วนงานบัญชีในกิจการ

อ้างอิง หนังสือระบบสารสนเทศทางการบัญชี (Accounting Information System)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อรุษ (นพฤทธิ์) คงรุ่งโชค

  • ผู้ตรวจสอบ ( บัญชีและระบบสารสนเทศ )

การตรวจสอบมีจุดประสงค์ในการประเมินค่าของข้อมูลสารสนเทศที่ได้จากระบบสารสนเทศทางการบัญชีหรือรูปแบบการทำงานของระบบสารสนเทศทางการบัญชี ในด้านต่างๆ เช่น ผู้ตรวจสอบคนหนึ่งประเมินระบบสารสนเทศทางการบัญชีในด้านความเชื่อถือได้ ความครบถ้วนของข้อมูลสารสนเทศและความสอดคล้องของระบบการควบคุมภายในของบริษัท ถึงแม้ว่ารูปแบบการตรวจสอบจะมีการดำเนินการได้หลายรูปแบบแต่การตรวจสอบด้านการเงินอาจเป็นหัวข้อของการตรวจสอบที่ดูแล้วเป็นเรื่องปกติที่ต้องทำกัน แต่ในการตรวจสอบเรื่องการประเมินผลงานของระบบงานเป็นพื้นฐานของการตรวจสอบระบบสารสนเทศทางการบัญชี และรวมไปถึงการพิจารณาในส่วนของการควบคุมสภาพแวดล้อมและการปฏิบัติงานเป็นจุดเริ่มต้นที่จะทำการทดสอบการควบคุมที่มีอยู่จริง รวมทั้งการทดสอบเนื้อหาของการบันทึกบัญชีที่มีอยู่ในระบบงานนั้นด้วย อย่างไรก็ตาม ผู้ตรวจสอบประเมินความสอดคล้องของการดำเนินงานของระบบสารสนเทศทางการบัญชีในส่วนที่เป็นจุดสำคัญ (เช่น ระบบการควบคุมภายใน ) ผู้ตรวจสอบบางคนอาจเป็นพยานให้ในความถูกต้องของงบการเงินที่ใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชี ถึงแม้ว่าผู้ตรวจสอบเป็นหลักสำคัญในการประเมินค่า แต่ผู้สอบก็ต้องการทราบเกี่ยวกับการสร้างการใช้ระบบสารสนเทศทางการบัญชีอย่างกว้างๆ เพื่อที่จะให้คำแนะนำและปรับปรุงระบบสารสนเทศทางการบัญชีสำหรับการออกแบบระบบงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ควรคำนึงถึงการควบคุมภายใน ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับการประเมินผลทางคอมพิวเตอร์ และระบบต่างๆ ซึ่งถือว่าเป็นประโยชน์ต่อผู้ตรวจสอบอย่างมาก และด้วยเหตุผลนี้ ผู้ตรวจสอบจึงต้องมีความรู้ความชำนาญเกี่ยวกับระบบคอมพิวเตอร์พอสมควร ( Computer-based) และสามารถที่จะกำหนดความสัมพันธ์ของเทคนิคการตรวจสอบได้อย่างลงตัวกับระบบสารสนเทศทางการบัญชี (มักเรียกว่า EDP Auditors) ซึ่งในบางทีอาจเรียกผู้ตรวจสอบประเภทนี้ว่าผู้ตรวจสอบการประมวลผลทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Data Processing (EDP) Auditors

อ้างอิง หนังสือระบบสารสนเทศทางการบัญชี (Accounting Information System)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อรุษ (นพฤทธิ์) คงรุ่งโชค

  • ผู้พัฒนาระบบ

นักบัญชีเป็นเสมือนผู้ให้บริการด้านการวางแผนและพัฒนาระบบสารสนเทศทางการบัญชี การออกแบบระบบต่างๆ เป็นหัวใจสำคัญของวงจรการพัฒนาระบบ (Systems development cycle) โดยประกอบด้วยการออกแบบระบบสารสนเทศทางการบัญชีให้เหมาะสมกับสภาพของกิจการในปัจจุบันและสภาพแวดล้อมโดยรวม ซึ่งการออกแบบอาจรวมถึงการปรับปรุงระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่มีอยู่แล้วหรือเป็นระบบสารสนเทศทางการบัญชี ที่เพิ่งใช้ในระยะแรกๆ ของกิจการที่เปิดใหม่ ซึ่งก่อนที่จะมีการออกแบบจะมีขั้นตอนการดำเนินการอยู่ 2 ส่วน คือ การวางระบบ และการวิเคราะห์ระบบ สำหรับการวางระบบ ประกอบด้วย การวางพื้นฐานระบบสารสนเทศทางการบัญชีในบริษัทใหม่หรือระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่เคยได้รับการปรับปรุงมาแล้ว การวิเคราะห์ระบบจะพิจารราเกี่ยวกับการกำหนดปัญหาของระบบสารสนเทศทางการบัญชีที่ใช้อยู่และการตัดสินใจถึงความต้องการของระบบหลังจากที่ได้ระบบออกมาและได้รับการยอมรับแล้วก็จะถูกติดตั้งเพื่อใช้ในการดำเนินการต่อไป ดังนั้น นักบัญชีจึงได้รับหน้าที่และบทบาทในด้านการพัฒนาระบบต่างๆ และเป็นผู้ออกแบบระบบต่างๆ อีกหน้าที่หนึ่ง ซึ่งผู้ออกแบบระบบภายในองค์กรใดองค์กรหนึ่งเรียกว่า System Analyst หรือนักวิเคราะห์ระบบนั่นเองโดยตำแหน่งและหน้าที่ถือว่าเป็นพนักงานของบริษัทอีกหน้าที่หนึ่ง ส่วนมากนักบัญชีที่ต้องการทำงานในฐานะนักพัฒนาระบบงานที่จะเข้าไปมีส่วนร่วมในทีมงานโดยทำหน้าที่ช่วยในงานการวิเคราะห์ระบบของแผนงานระบบสารสนเทศรวมทั้งนักบัญชียังสามารถมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบโดยทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและทำหน้าที่ในการให้คำแนะนำการติดตั้งระบบคอมพิวเตอร์และการอบรทบุคลากรที่ต้องใช้คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือในการทำงานอีกด้วย

อ้างอิง หนังสือระบบสารสนเทศทางการบัญชี (Accounting Information System)

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ อรุษ (นพฤทธิ์) คงรุ่งโชค



https://www.youtube.com/watch?v=XaSnIxF7UxA


นักบัญชี

นิยามอาชีพ

ให้บริการทางการบัญชีแก่สถานประกอบการ ธุรกิจ บุคคล สถาบันเอกชนหรือหน่วยงานรัฐบาล รวมถึงการควบคุมดูแลการทำบัญชี การตรวจสอบบัญชี แนะนำการวางแผนการจัดระบบการจัดทำบัญชีและงบประมาณ รับรองความถูกต้องและความครบถ้วนของงบการเงินเพื่อแสดงต่อผู้บริหาร ผู้ถือหุ้น และหน่วยงานทางกฎหมายและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง จัดทำงบประมาณการรายได้ ประมาณการรายจ่าย ผลการดำเนินงานและงบประมาณอื่นๆ ดำเนินการเกี่ยวกับการคืนภาษี และให้คำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาด้านการจัดเก็บภาษี ตรวจสอบเงินได้พึงประเมินเพื่อยื่นต่อเจ้าพนักงานประเมิน หรือจัดส่งให้เจ้าหน้าที่ผู้ประเมินภาษีเพื่อยื่นต่อเจ้าหน้าที่สรรพากร รวมถึงตรวจสอบหลักฐานทางการเงินต่างๆ เช่น การฉ้อฉลและการล้มละลายตลอดจนปฏิบัติงานหน้าที่การงานเกี่ยวข้อง และควบคุมดูแลผู้ปฏิบัติงานอื่นๆนักบัญชี

ที่มา : กรมจัดหางาน กระทรวงแรงงาน

คุณสมบัติของนักบัญชี

1. นักบัญชี ต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรี สาขาการบัญชี ซึ่งคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง

2. พนักงานบัญชีต้องมีคุณวุฒิไม่ต่ำกว่าอนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่าหรือมีคุณวุฒิปริญญาตรีทางการบัญชี บริหารธุรกิจหรือเทียบเท่าจากสถาบันการศึกษาซึ่งคณะกรรมการการอาชีวศึกษาและคณะกรรมการการอุดมศึกษารับรอง

3. มีความซื่อสัตย์ในหน้าที่เนื่องจากทำงานเกี่ยวกับการเงิน

4. มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพในการนำเสนอข้อมูลทางบัญชีที่เชื่อถือได้ถูกต้องรวดเร็วและมีประโยชน์อย่างแท้จริงในการตัดสินใจ

5. มีความรอบคอบ มีวิจารณญาณ เพื่อพิจารณาหาหลักปฏิบัติที่เหมาะสม และส่งผลกระทบในด้านลบให้น้อยที่สุดแก่หน่วยงานหรือองค์กรที่เกี่ยวข้อง

6. รับผิดชอบในการพัฒนาตนเองและให้ความร่วมมือในการพัฒนาวิชาชีพและสังคม

7. สามารถใช้คอมพิวเตอร์ มีประสบการณ์ในด้านโปรแกรม software บัญชีมีความรู้ภาษาอังกฤษตามสมควร มีความรู้ระบบภาษีของไทย

ลักษณะของงานบัญชี

ลักษณะโดยทั่วไปของงานบัญชีที่ให้บริการกัน ได้แก่ การรับทำบัญชี การตรวจสอบบัญชี การวางระบบบัญชี การบัญชีต้นทุน การพยากรณ์ทางการเงิน การวางแผนภาษีอากร การบัญชีเพื่อการบริหาร เป็นต้น

งานบัญชีทำอะไรบ้างโดยนักบัญชีจะมีหน้าที่ความรับผิดชอบหลัก ๆ ดังนี้

1. ทำหน้าที่บันทึกข้อมูลทางการเงินตามระบบของการบัญชี

2. ทำบัญชีรายรับ บัญชีรายจ่าย ให้กับองค์กร

3. ตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารทางบัญชี

4. บันทึกการจ่ายเงิน การรับเงิน และธุรกรรมทางการเงิน

5. ทำงบแสดงฐานะการเงิน และรวบรวมรายงานการเงินตามระยะเวลาที่กำหนด

6. จัดแสดงรายรับรายจ่ายที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจของบริษัท

7. ทำรายงานปิดงบการเงินประจำเดือนให้กับบริษัท

ประเภทของงานบัญชี

งานในวิชาชีพบัญชีสามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ

1. งานบัญชีของธุรกิจ (Private Accounting) คือ งานบัญชีทั่วไป ที่นักบัญชีรับทำให้แก่บริษัทเอกชนทั่วไป

2. งานบัญชีสาธารณะ (Public Accounting) คือ งานบัญชีอิสระ ที่ผู้ทำบัญชีจะให้บริการด้านการบัญชีโดยไม่ต้องเป็นลูกจ้างของหน่วยงาน หรือองค์กรใด

3. งานบัญชีของรัฐบาล (Governmental Accounting) คือ งานบัญชีที่ทำให้กับหน่วยงานรัฐบาล โดยนักบัญชี จะมีฐานะเป็นข้าราชการประจำของหน่วยงานราชการนั้น


ระบบสารสนเทศทางการบัญชี (Accounting Information System)


ในอดีตการบริหารธุรกิจจะประสบความสำเร็จหรือไม่จะขึ้นอยู่กับตัวบุคคลเป็นสำคัญกล่าวคือถ้าคนใดสามารถวางแผนได้ดี ควบคุมงานได้ดี ก็จะทำให้การบริหารกิจการนั้นสัมฤทธิ์ผลได้ แต่ในปัจจุบันเมื่อธุรกิจมีการแข่งขันมากขึ้น ประกอบกับเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์ได้มีการพัฒนามากขึ้น คุณภาพของการบริหารและความอยู่รอดขององค์นั้นจึงขึ้นกับระบบมากกว่าตัวบุคคล ดังนั้นการบริหารสมัยใหม่ จะให้ความสำคัญกับระบบข้อมูล และระบบสารสนเทศมากขึ้น เพราะหากกิจการใดมีระบบสารสนเทศที่ดีกว่าก็จะทำให้สามารถให้ข้อมูลในการตัดสินใจที่รวดเร็ว ถูกต้องและมีประสิทธิภาพมากกว่า ซึ่งจะส่งผลให้กิจการนั้นสามารถอยู่รอดได้มากกว่า

ระบบสารสนเทศทางการบัญชี (Accounting Information System) เป็นระบบที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแปลงหรือประมวลผลข้อมูลทางการเงิน ให้เป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์ในการตัดสินใจต่อผู้ใช้ สำหรับผู้ใช้ประโยชน์จากสารสนเทศทางการบัญชีอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ บุคคลภายในองค์กร และบุคคลภายนอกองค์กรเช่น ผู้ถือหุ้น นักลงทุน เจ้าหนี้ หน่วยงานของรัฐบาล และคู่แข่งขัน เป็นต้น ทั้งนี้กระบวนการแปลงข้อมูลหรือ ประมวลผลข้อมูลในระบบสารสนเทศทางการบัญชีนั้นอาจกระทำด้วยมือหรือใช้คอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยก็ได้ ตัวอย่างของสารสนเทศทางการบัญชี ที่มีประโยชน์ต่อการตัดสินใจของผู้ใช้ เช่น งบกำไรขาดทุน งบดุล งบกระแสเงินสด เป็นต้น ซึ่งสารสนเทศเหล่านี้ได้มาจากการประมวลผลรายการค้าต่าง ๆ ของกิจการดังนั้นรายการค้าแต่ละรายการ เช่น รายการขายสินค้า ซื้อสินค้า ฯลฯ จึงถือว่าเป็นตัวอย่างของข้อมูล ของระบบสารสนเทศทางการบัญชี สารสนเทศเป็นสิ่งที่มีประโยชน์และมีค่า ต่อการตัดสินใจเพราะเป็นสิ่งที่ช่วยเพิ่มพูนความรู้ทำให้สามารถคาดการณ์สิ่งต่าง ๆ ในอนาคตได้อย่างถูกต้องมากยิ่งขึ้น และช่วยลดความไม่แน่นอนให้แก่ผู้ที่ทำการตัดสินใจโดยทำให้การตัดสินใจมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สารสนเทศจะมีประโยชน์หรือมีค่าต่อผู้ใช้มากน้อยเพียงใดนั้นจะขึ้นอยู่กับคุณภาพของสารสนเทศนั้นๆ สารสนเทศที่มีคุณภาพควรมีลักษณะที่สำคัญ ๆ มีดังนี้

1.เกี่ยวข้องกับการตัดสินใจ

2.ถูกต้องเชื่อถือได้

3.สมบูรณ์ครบถ้วน

4.ทันเวลา

5.แสดงเป็นจำนวนได้

6.ตรวจสอบความถูกต้องได้

7.สามารถเข้าใจได้

8.สามารถเปรียบเทียบกันได้

เหตุผลที่นักบัญชีควรศึกษาและทำความเข้าใจระบบการสื่อสารข้อมูลนักบัญชีมักจะมีส่วนร่วมในการตัดสินใจทางธุรกิจ ซึ่งความรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ ของการตัดสินใจนั้นขึ้นอยู่กับคุณภาพของสารสนเทศที่ได้รับ ว่าได้ทันตามเวลาที่ต้องการและมีความถูกต้องหรือไม่ แต่จากการที่แนวโน้มของธุรกิจในยุคปัจจุบันนั้น มีโครงสร้างองค์กรที่สลับซับซ้อน และมีสาขาหรือหน่วยงานที่กระจายแยกกันไปตามภูมิภาคต่าง ๆ มากยิ่งขึ้น ทำให้ปัญหาต่าง ๆ ในการเก็บรวบรวมข้อมูล การประมวลผลและการสื่อสารเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลนั้นเพิ่มมากยิ่งขึ้นตามไปด้วย ดังนั้นจึงมีการนำระบบคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารข้อมูลมาประยุกต์ใช้ในระบบสารสนเทศทางการบัญชี เพื่อทำให้การส่งและรับข้อมูลระหว่างสาขาหรือหน่วยงานที่กระจายแยกกันไปตามภูมิภาคต่าง ๆ นั้นเป็นไปอย่างรวดเร็วและมีความถูกต้องน่าเชื่อถือ และยังสามารถทำให้ผู้ใช้ที่ผ่านการอนุมัติสามารถเข้าถึงข้อมูลในระบบสารสนเทศทางการบัญชีของบริษัทได้ในทันทีที่ต้องการ โดยรวมแล้วมีเหตุผลหลาย ๆ ประการที่นักบัญชีควรศึกษาและทำความเข้าใจระบบการสื่อสารข้อมูลได้แก่ ความสามารถในการส่งสารสนเทศการบัญชีไปยังผู้ที่ต้องการใช้ได้ทันกับความต้องการ ไม่ว่าผู้ใช้ข้อมูลนั้นจะอยู่ที่ใดก็ตาม ซึ่งวิธีการที่ดีที่สุด และเร็วที่สุด คือการส่งผ่านระบบการสื่อสารข้อมูลที่รวดเร็วและทันสมัย นักบัญชีซึ่งอาจจะอยู่ในฐานะของผู้ใช้งาน หรือควบคุมดูแลระบบการสื่อสารข้อมูล ดังนั้นนักบัญชีจึงควรทำความเข้าใจพื้นฐานของระบบการสื่อสารข้อมูล นักบัญชีซึ่งอาจจะอยู่ในฐานะของผู้ตรวจสอบ และเป็นผู้ทำการประเมินการทำงานของระบบการสื่อสารข้อมูล นักบัญชีจึงจำเป็นที่จะต้องรู้ว่าทำอย่างไรจึงจะมั่นใจได้ว่าข้อมูลที่มีการส่งผ่านเครือข่ายการสื่อสารข้อมูลนั้นมีความถูกต้องน่าเชื่อถือ นอกจากนี้จะเห็นได้ว่า ในปัจจุบันแนวโน้มของโปรแกรมสำเร็จรูปทางการบัญชีส่วนใหญ่ มีการนำเทคโนโลยีในการสื่อสารข้อมูลมาประยุกต์ใช้ ดังนั้นนักบัญชีไม่ว่าจะอยู่ในฐานะของพนักงานบัญชีในองค์กร หรือที่ปรึกษา หรือผู้สอบบัญชี ต่างก็ควรที่จะสนใจศึกษา ค้นคว้า ทำความเข้าใจและติดตามความก้าวหน้าทางด้านระบบการสื่อสารข้อมูลอย่างต่อเนื่อง

📷📷📷📷📷📷 ข้อมูล สารสนเทศ

ความสัมพันธ์ระหว่างข้อมูลและสารสนเทศ

ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อเท็จจริงต่างๆที่เก็บรวบรวมไว้ เป็นเพียงสิ่งที่บอกเหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นได้ เป็นข้อมูลดิบ

สารสนเทศ ( Information) หมายถึง ข้อมูลที่ได้ผ่านการประมวลผลและถูกจัดให้อยู่ในรูปที่มีความหมายและมีประโยชน์ต่อการตัดสินใจ หรือนำไปใช้งาน

ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี ปัจจุบันงานของนักบัญชีมีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมอย่างมาก เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศที่ทันสมัยทำให้มีการพัฒนาชุดคำสั่งสำเร็จรูปหรือชุดคำสั่ง เฉพาะสำหรับช่วยในการเก็บรวบรวมและประมวลผลข้อมูล ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาและเพิ่มความถูกต้องใน การทำงานแก่ผู้ใช้ ทำให้นักบัญชีมีเวลาในการปฏิบัติงานเชิงบริหารมากขึ้น เช่น การออกแบบและพัฒนาระบบงาน พัฒนาระบบงบประมาณและระบบข้อมูลสำหรับผู้บริหาร เป็นต้น โดยที่ ระบบสารสนเทศด้านการบัญชี (accounting information systems) หรือที่เรียกว่า AIS จะเป็นระบบที่รวบรวม จัดระบบ และนำเสนอสารสนเทศทางการบัญชีที่ช่วยในการตัดสินใจแก่ผู้ใช้สารสนเทศทั้งภายในและภายนอกองค์การ โดยระบบสารสนเทศทางการบัญชีจะให้ความสำคัญกับสารสนเทศที่สามารถวัดได้ หรือ การประมวลผล เชิงปริมาณมากกว่าการแก้ปัญหาเชิงคุณภาพ โดยระบบสารสนเทศด้านการบัญชีจะมีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วนคือ

1. ระบบบัญชีการเงิน (financial accounting system) บัญชีการเงินเป็นการบันทึกรายการคำที่เกิดขึ้นในรูปตัวเงิน จัดหมวดหมู่รายการต่าง ๆ สรุปผลและตีความหมายในงบการเงิน ได้แก่ งบกำไรขาดทุน งบดุล และงบกระแสเงินสด โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือ นำเสนอสารสนเทศแก่ผู้ใช้และผู้ที่สนใจข้อมูลทางการเงินขององค์การ เช่น นักลงทุนและเจ้าหนี้ นอกจากนี้ยังจัดเตรียมสารสนเทศในการตัดสินใจของผู้บริหาร ซึ่งนักบัญชีสามารถนำเทคโนโลยีสารสนเทศใช้ในการประมวลข้อมูล โดยจดบันทึกลงในสื่อต่าง ๆ เช่น เทปหรือจานแม่เหล็ก เพื่อรอเวลาสำหรับทำการประมวลและแสดงผลข้อมูลตามต้องการ

2. ระบบบัญชีบริหาร (managerial accounting system) บัญชีบริหารเป็นการนำเสนอข้อมูลทางการเงินแก่ผู้บริหาร เพื่อใช้ในการตัดสินใจทางธุรกิจ ระบบบัญชีจะประกอบด้วย บัญชีต้นทุน การงบประมาณ และการศึกษาระบบ โดยมีลักษณะสำคัญคือ

- ให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศทางการบัญชีแก่ผู้ใช้ภายในองค์การ

- ให้ความสำคัญกับการดำเนินงานในอนาคตของธุรกิจ

- ไม่ต้องจัดทำสารสนเทศตามหลักการบัญชีที่รับรองทั่วไป

- มีข้อมูลทั้งที่เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงิน

- มีความยืดหยุ่นและสามารถปรับให้สอดคล้องกับความต้องการใช้งาน

ระบบสารสนเทศทางการบัญชี จะให้ความสำคัญกับการรวบรวมข้อมูลและการติดต่อสื่อสารทางการเงิน ซึ่งเป็นกระบวนการติดต่อสื่อสารมากกว่าการวัดมูลค่า โดยที่ ระบบสารสนเทศทางการบัญชี จะแสดงภาพรวม จัดเก็บ จัดโครงสร้าง ประมวลข้อมูล ควบคุมความปลอดภัย และการรายงานสารสนเทศทางการบัญชี ปัจจุบันการดำเนินงานและการไหลเวียนของข้อมูลทางการบัญชีมีความซับซ้อนมากขึ้น ทำให้นักบัญชีต้องกำหนดคุณสมบัติของสารสนเทศด้านการบัญชีให้สัมพันธ์กับการดำเนินงานขององค์การ ประการสำคัญ ระบบสารสนเทศทางการบัญชี และระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการจะมีทั้งส่วนที่แยกออกจากกันและเกี่ยวเนื่องสัมพันธ์กัน แต่ MIS จะให้ความสำคัญกับการจัดการสารสนเทศสำหรับการตัดสินใจของผู้บริหาร ขณะที่ ระบบสารสนเทศทางการบัญชี จะประมวลสารสนเทศเฉพาะสำหรับผู้ใช้งานทั้งภายในและภายนอกองค์การ เช่น นักลงทุน เจ้าหนี้ และผู้บริหาร เป็นต้น

ระบบสารสนเทศทางการบัญชี คือ ระบบที่ถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อแปลงหรือประมวลผลข้อมูลทางการเงิน ( Financial data ) ให้เป็นสารสนเทศที่มีประโยชน์ในการตัดสินใจต่อผู้ใช้ แบ่งได้ 2 กลุ่มใหญ่ๆ คือ

1. บุคคลภายในองค์กร ได้แก่ ผู้ บริหารในระดับต่างๆ

2. บุคคลภายนอกองค์กร เช่นผู้ถือหุ้น นักลงทุน เจ้าหนี้ หน่วยงานรัฐบาลและคู่แข่งขัน เป็นต้น

สารสนเทศที่เป็นประโยชน์

- งบกำไรขาดทุน

- งบดุล

- งบกระแสเงินสด

ส่วนประกอบทางการบัญชี

1.เป้าหมายและวัตถุประสงค์ ( Goals and Objectives )

2.ข้อมูลเข้า ( Inputs ) ยอดขายสินค้า ราคาขายของกิจการ ราคาขายของคู่แข่งขัน ยอดขายของคู่ แข่งขัน

3.ตัวประมวลผล ( Processor ) คือ เครื่อง มือที่ ใช้ ในการแปลงสภาพจากข้อมูลให้ เป็นสารสนเทศ มักใช้ คอมพิวเตอร์ทำงานการคำนวณ การเรียงลำดับ การคิดร้อยละ การจัดหมวดหมู่ การจัดทำกราฟ ฯลฯ

4. ข้อมูลออก หรือผลลัพธ์ ( Output ) คือ สารสนเทศที่มีประโยชน์ต่อผู้ใช้

5. การป้อนกลับ ( Feedback)

6.การ เก็บ รักษาข้อมูล ( Data Storage )

7. คำสั่งและขั้นตอนการ ปฏิบัติงาน ( Instructions and Procedures )

8.ผู้ใช้ ( Users)

9. การควบคุมและรักษา ความปลอดภัยของข้อมูล ( Control and Security Measures )

หน้าที่ของระบบสารสนเทศทางการบัญชี

1. การรวบรวมข้อมูล ( Data Collection )

2. การประมวลผลข้อมูล ( Data Processing )

3. การจัดการข้อมูล ( Data Management )

4.การควบคุมข้อมูล และรักษา ความปลอดภัยของข้อมูล ( Data Control and Data Security )

5. การจัดทำสารสนเทศ ( Information Generation )


https://www.youtube.com/watch?v=WDgs6PPxaF0&feature=youtu.be


 
 
 

Kommentarer


1. นางสาวจุฑามาศ              คำหอม

2. นางสาวเจนนภา               ดิษฐทรัพย์

3. นางสาวฉันทิศา                จันทรปุโรหิต

4. นายณัฐชนน                       ชาวบ้านกร่าง

5. นางสาวณัฐชา                   รุ่งโรจน์

6. นางสาวน้ำฝน                    ทาวุ่น

7. นางสาวนุจรี                        บรรจง

8. นางสาวเบญจวรรณ        เจริญสุข

9. นางสาวประภัสสร            จัดสารีกิจ

10. นางสาวประภัสสร          อินสว่าง

© 2018 BY ACC36021N Group 2 WITH WIX.COM

Director by 

bottom of page